logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • อื่น ๆ
  • โรนัลด์ รอส ผู้ค้นพบพาหะโรคมาลาเรีย

โรนัลด์ รอส ผู้ค้นพบพาหะโรคมาลาเรีย

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันอังคาร, 11 กันยายน 2561
Hits
15551

          เชื่อว่าหลายคนคงทราบกันดีว่า ยุงเป็นพาหะนำมาซึ่งโรคติดต่อร้ายแรงที่ชื่อว่า โรคมาลาเรีย หรือโรคไข้จับสั่น  ก่อนหน้านี้เรายังไม่ทราบว่าโรคมาลาเรียนี้มีสาเหตุการเกิดมาจากอะไร  จึงทำให้แนวทางป้องกันและรักษาเป็นไปได้ยากและทำให้โรคนี้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นมากมาย  จนกระทั่ง  “โรนัลด์  รอส” (Ronald Ross)  แพทย์ลูกครึ่งชาวอังกฤษและอินเดีย  ได้ค้นพบพาหะของเชื้อมาลาเรียได้เป็นผลสำเร็จ จนได้รับการยกย่องเป็น  “เซอร์ โรนัลด์ รอส”  (Sir Ronald Ross)  และยังได้รับ รางวัลโนเบล  สาขาการแพทย์และสรีระวิทยาในปี ค.ศ. 1902 (พ.ศ. 2445) เรามาทำความรู้จักกับประวัติของเขาและผลงานอันเลื่องชื่อนี้กันดีกว่า

         โรนัลด์  รอส (Ronald Ross)  เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1875  ณ เมืองอัลมอรา  ประเทศอินเดีย  เขาสำเร็จการศึกษาด้านแพทยศาสตร์จากโรงพยาบาลเซนต์บาร์โธโลมิวในกรุงลอนดอน หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว รอสได้กลับไปประเทศอินเดียซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาเองเพื่อเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่นั่น  และที่นี่เองซึ่งเป็นสถานที่เกิดโรคมาลาเรียกำลังระบาดอย่างรุนแรง  มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก  และยังไม่มีวิธีการใดสามารถรักษาให้หายขาดได้  รอสจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาหาที่มาของโรคมาลาเรียนี้เพื่อหาวิธีการักษาและป้องกันนั่นเอง

8402 1
ภาพที่ 1 Ronald Ross

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/โรนัลด์_รอสส์#/media/File:Ronald_Ross.jpg

         ก่อนหน้านี้ โรคมาลาเรียมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางการรักษาและสืบหาสาเหตุมาก่อนหน้าในระดับหนึ่ง โดยนายแพทย์ชารลส์  เลฟวแรน (Charles Leveran ) ผู้ซึ่งค้นพบว่าเชื้อพลาสโมเดียม (plasmodium)  คือเชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย แต่ก็ได้เพียงเท่านั้น เพราะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่มาได้ว่า เชื้อชนิดนี้แพร่เข้ามาสู่คนได้อย่างไร รอสจึงได้ทำการศึกษาโรคมาลาเรียนี้อย่างจริงจัง โดยได้รับคำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาจากแพทริค แมนสัน (Patrick Manson)  นักพยาธิวิทยาผู้ได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งยารักษาโรค  และยังเป็นผู้ค้นพบพาหะของโรคเท้าช้าง (Elephantiasis)  

8402 2
ภาพที่ 2 ยุงก้นปล่อง พาหะโรคมาลาเรีย
ที่มา https://www.matichon.co.th/region/news_932479

       แมนสัน เป็นผู้ชี้ข้อสงสัยที่ว่า “ยุง”  อาจเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย  จึงเป็นผลทำให้รอสได้เริ่มทำการวิจัยทดลองเพื่อแสวงหาคำตอบของข้อสงสัยที่ว่า “ยุง” เป็นพาหะของโรคมาลาเรียหรือไม่ ?  การทดลองนี้เริ่มจากการนำยุงไปกัดคนเป็นโรคมาลาเรีย  และนำยุงตัวนั้นไปกัดคนปกติที่ไม่ได้ป่วยแต่อย่างใด ด้วยสมติฐานที่ว่าคนที่โดนยุงตัวนั้นกัดจะต้องเป็นโรคมาลาเรียอย่างแน่นอน  แต่ผลการทดลองกลับออกมาว่า  คนผู้นั้นก็ไม่ได้ป่วยเป็นโรคมาลาเรียแต่อย่างใด

       รอสยังดำเนินการทดลองต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงต่อมาได้มีการเปลี่ยนแผนการทดลอง  โดยศึกษายุงแต่ละชนิดอย่างละเอียดจนในที่สุดก็พบว่าเชื้อมาลาเรียเป็นเชื้อที่มีอยู่ในมีในต่อมน้ำลายของยุง และเป็นยุงก้นปล้องเท่านั้น และยังได้ข้อมูลที่ลึกไปกว่านั้นก็คือ เป็นยุงก้นปล่องตัวเมียเท่านั้นอีกด้วย จากเหตุผลที่ว่ายุงก้นปล่องตัวเมียต้องการเลือดจากคนหรือสัตว์อื่นเพื่อการดำรงชีวิต เนื่องจากภายในเลือดจะมีโปรตีนที่มันต้องการใช้ในการวางไข่  ส่วนยุงตัวผู้โดยปกติต้องการน้ำหวานจากดอกไม้และผลไม้เพื่อการดำรงชีวิตเท่านั้น นั้นหากเมื่อยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเรียมากัดคน คนจะได้รับเชื้อทำให้เป็นโรคมาลาเรียได้ทันที โดยจะปล่อยเชื้อตัวอ่อนซึ่งเป็นระยะติดต่อเข้าสู่เลือดคน  เรียกว่า สปอโรซอยต์ (sporozoite) เชื้อนี้จะเข้าสู่เซลล์ตับและมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว  เรียกว่า เมอโรซอยต์ (merozoite)    หลังจากนั้นเมอโรซอยด์จำนวนมากก็จะบุกเข้ากระแสเลือดเพื่อทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนจนกระทั่งเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกออก  ซึ่งตอนนี้เองจะทำให้เกิดอาการไข้จับสั่นนั่นเอง

แหล่งที่มา

โรนัลด์ รอสส์. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
          http://th.wikipedia.org/wiki/โรนัลด์_รอสส์

มาลาเรีย. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
           http://th.wikipedia.org/wiki/มาลาเรีย

มาลาเรีย : โรคที่คนไทยควรทำความรู้จักให้ดี. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
           http://www.sc.mahidol.ac.th/usr/?p=51

พิชาติ อุปรานุเคราะห์. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
           www.medicine.cmu.ac.th/dept/parasite/WEBTHAI/StudentSheets/331Lecture/NewPdf/เอกสารสอน331/07.พิชาติ-สปอฺโรซัว-แก้ไข.pdf

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
           http://www.karunvej.com/pathumthani/en/site/health_articles/detail/62

โรคจากสัตว์เซลล์เดียว. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
           http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=10&chap=2&page=t10-2-infodetail17.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
โรคมาลาเรีย, โรคไข้จับสั่น,  โรนัลด์ รอส, Ronald Ross, ยุง, ยุงก้นปล่อง, พาหะ, โรคติดต่อ, แพทย์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 16 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8402 โรนัลด์ รอส ผู้ค้นพบพาหะโรคมาลาเรีย /other-article/item/8402-2018-06-01-02-55-14
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
สุขภาพช่องปาก เรื่องที่ควรรู้
สุขภาพช่องปาก เรื่องที่ควรรู้
Hits ฮิต (14266)
ให้คะแนน
ฟันและเหงือก สองส่วนสำคัญในช่องปาก หากดูแลไม่ดีจะส่งผลเสียต่อสุขภาพภายใน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น นพ.ก ...
อันตรายจากการออกกำลังกายที่ควรรู้
อันตรายจากการออกกำลังกายที่ควรรู้
Hits ฮิต (10368)
ให้คะแนน
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ แต่รู้หรือไม่ว่า หากการออ ...
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 21 Rachel Carson
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนท...
Hits ฮิต (2270)
ให้คะแนน
กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับบทความซีรีส์รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก เราเดินทางมาไกลจนถึงตอนที่ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)