logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทเรียน
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • ฤดูบนโลก

ฤดูบนโลก

โดย :
C.Sitthisak
เมื่อ :
วันอาทิตย์, 04 มิถุนายน 2560
Hits
31129

ท่านเคยสงสัยหรือถามคนใกล้ชิดหรือไม่ว่า เหตุใดในรอบ 1 ปีของประเทศของเราบางช่วงอากาศร้อนมาก บางช่วงอากาศก็จะเย็น ถ้าท่านยังอธิบายไม่ได้ท่านอาจได้รับคำอธิบายจากคนใกล้ชิดท่านดังนี้ “การที่ประเทศของเรามีภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ก็เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่รัศมีของการโคจรไม่คงที่คือมีบางขณะโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ บางขณะโลกก็อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นถ้าโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก อากาศก็จะร้อน ในทางกลับกันถ้าโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากอากาศก็จะหนาวเย็น” คำอธิบายข้างบนถูกต้องหรือไม่ เรามาลองพิจารณาภาพต่อไปนี้ ที่แสดงระยะทางไกลสุดและใกล้สุด ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์

*จาก Observer’s Handbook 2006 The Royal Astronomical Society of Canada
         

จากภาพวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์จะเห็นว่า ช่วงเวลาที่โลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด คือเดือนมกราคม ส่วนช่วงเวลาที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด คือเดือนกรกฎาคม ดังนั้นถ้าภูมิอากาศบนโลกเกิดขึ้นเนื่องจากการที่โลกอยู่ใกล้หรือไกลจากดวงอาทิตย์ ก็หมายความว่า ในเดือนมกราคมภูมิอากาศของโลกควรจะร้อน ส่วนในเดือนกรกฎาคมภูมิอากาศของโลกควรจะเย็น แต่ในความเป็นจริงปรากฏการณ์บนโลกไม่เป็นเช่นนั้น เพราะในเดือนมกราคมประเทศที่อยู่ทางซีกโลกใต้จะเป็นฤดูร้อน แต่ซีกโลกเหนือจะเป็น
ฤดูหนาว ส่วนในเดือนกรกฎาคม เฉพาะซีกโลกใต้อีกเช่นกันที่เป็นฤดูหนาว ส่วนซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อน

จากข้อมูลระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์และ ภูมิอากาศของโลกจะเห็นว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันตามคำอธิบายข้างต้น ถ้าเช่นนั้นภูมิอากาศของโลกที่แตกต่างกัน หรือฤดูบนโลกเกิดขึ้นเนื่องจากอะไรจากการสังเกตและศึกษาการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์นั้น นักวิทยาศาสตร์พบว่า แกนโลกไม่ตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ แต่เอียงจากแนวตั้งฉากประมาณ 23.5 ° และวางตัวอยู่ในแนวเดิมตลอดเวลา ส่งผลให้บริเวณต่างๆของโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ในลักษณะต่างกันขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ดังภาพ

จากภาพการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์จะพบว่าลักษณะของแสงอาทิตย์ที่ตกบนโลก ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบนโลก มีการเปลี่ยนแปลงในรอบ 1 ปี ทั้งนี้เนื่องจากแกนโลกเอียงนั่นเอง จากภาพเมื่อโลกอยู่ที่ตำแหน่ง ค คือประมาณเดือนมิถุนายน ขั้วโลกเหนือจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนขั้วโลกใต้จะหันออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งส่งผลให้ประเทศที่อยู่ทางซีกโลกเหนือเช่นประเทศอังกฤษเป็นฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เช่นประเทศออสเตรเลียเป็นฤดูหนาว

จากที่กล่าวมาแล้วว่าระยะห่างระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ไม่ใช่สาเหตุของการมีภูมิอากาศที่ต่างกันถ้าเช่นนั้นอะไรคือสาเหตุ ขอให้ท่านพิจารณาภาพลักษณะของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนโลกว่าแต่ละบริเวณได้รับแสงเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

จากภาพเมื่อโลกอยู่ ณ ตำแหน่งนี้บริเวณซีกโลกเหนือ (ละติจูด 23.5 ° เหนือ) นั้นแสงอาทิตย์จะส่องตั้งฉากกับพื้นโลก ส่วนบริเวณซีกโลกใต้ (ละติจูด 23.5 ° ใต้) นั้นแสงจากดวงอาทิตย์จะส่องลงบนพื้นโลกลักษณะเฉียงๆ ทำให้พื้นที่ที่รับแสงอาทิตย์กว้างกว่าพื้นที่ที่รับแสงที่ส่องตั้งฉาก ความเข้มของแสงจึงน้อยกว่า ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า บริเวณที่ได้รับแสงอาทิตย์ที่ส่องตั้งฉาก (แสงมีความเข้มมาก) จะมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณที่ได้รับแสงอาทิตย์เฉียง (แสงมีความเข้มน้อย) เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นอาจเปรียบเทียบลักษณะของแสงอาทิตย์ที่ตกบนโลกเราในแต่ละวัน กับการเกิดฤดูได้ว่า ช่วงเช้าแสงอาทิตย์ที่ตกบนโลกจะมีลักษณะเฉียง(เงาต้นไม้จะยาว) อากาศจะไม่ค่อยร้อน ช่วงกลางวันแสงอาทิตย์ที่ตกบนโลกจะค่อนข้างตรง (เงาต้นไม้จะสั้น) อากาศจะร้อน ส่วนช่วงเย็น แสงอาทิตย์ที่ตกบนโลกจะมีลักษณะเฉียงคล้ายช่วงเช้า อากาศจะไม่ค่อยร้อนเช่นกัน

ในตอนนี้ท่านควรสรุปได้แล้วว่า ฤดูต่าง ๆ บนโลก เกิดขึ้นเนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์แกนโลกเอียง และลักษณะของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนโลกนั่นเอง

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ฤดูบนโลก,โลก,ดวงอาทิตย์,ภูมิอากาศของโลก,วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 04 มิถุนายน 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
C.Sitthisak
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
  • 7116 ฤดูบนโลก /lesson-earthscience/item/7116-2017-06-04-06-54-39
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • e-poster ปรากฏการณ์เรือนกระจกของโลก...
  • มาทำความรู้จักกับ Beacon Technology เทคโนโลยีแห่งอนาคต...
  • สิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์...
  • วัฏจักรการปรากฏของดาว...
  • พิท แพท ผจญภัย...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)