logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • AI กับเทคโนโลยีทางการแพทย์

AI กับเทคโนโลยีทางการแพทย์

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันพุธ, 13 พฤษภาคม 2563
Hits
12084

          ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์หลายๆ ด้าน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Artificial intelligence (AI) และ Robotics เป็นเทคโนโลยีที่ได้เข้าไปมีบทบาทในวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขา ในสาขาสุภาพและการแพทย์ก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่นำเอาเทคโนโลยี AI และ Robotics มาใช้ประโยชน์ ล่าสุด AI กำลังถูกนำเข้ามาใช้ในเรื่องใกล้ตัว อย่างเรื่องของสุขภาพ และการแพทย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

11230 1

ภาพใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการใช้เทคโนโลยี Artificial intelligence (AI) เข้ามาเกี่ยวข้อง
ที่มา https://www.pexels.com/photo/blur-business-coffee-commerce-273222/

          การนำเทคโนโลยี AI และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ที่กำลังถูกพัฒนา มาใช้งานวงการการแพทย์และเภสัชกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ AI และ Machine Learning 6 ทิศทางหลัก ดังนี้

  1. การสร้างภาพทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค เทคโนโลยี Machine Learning และ Deep Learning ได้เข้ามามีบทบาทในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้ช่วยให้การวินิจฉัยโรคทำได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

  2. การเก็บข้อมูลและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย โดยใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในการเก็บและให้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน ความสามารถของเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้จำนวนมากขึ้น สามารถเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาโรคหายากได้มากขึ้น

  3. การนำส่งยา แพทย์และพยาบาลหลายคน อาจจะกังวลว่า วันหนึ่ง เทคโนโลยี AI อาจจะ สามารถพัฒนาความสามารถจนสามารถเข้ามาแทนที่พวกเขาได้ แต่สำหรับบริษัทผลิตยาแล้ว การพัฒนา ด้าน AI จะทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการโดย เฉพาะการนำส่งยาไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

  4. การใช้หุ่นยนต์เพื่อการผ่าตัด หุ่นยนต์ ผ่าตัดถูกพัฒนาและนำมาใช้ในการผ่าตัดอวัยวะใน ส่วนที่มือคนไปไม่ถึง การผ่าตัดโดยหุ่นยนต์สามารถทำได้ทั้งแบบได้รับคำสั่งที่ป้อนจากแพทย์ และแบบที่หุ่นยนต์เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (Machine Learning)

  5. การรักษาเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine) การเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลโดยใช้ข้อมูลจากทั้งของส่วนบุคคลและผู้ป่วยทั้งหมดมาใช้ในการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ เช่น ประวัติการรักษา ข้อมูลยีน การบริโภคอาหาร ระดับความเครียด ฯลฯ

  6. การกว้านซื้อกิจการ Startup บริษัทด้านการ แพทย์และผลิตยามีการกว้านซื้อกิจการ Startup เพื่อค้นหาบุคลากรที่มีความสามารถด้าน AI และ Machine Learning เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของบริษัท

          นอกจากนี้ธุรกิจในกลุ่มด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบครบวงจรหรือ Health Tech กำลังมาแรงเนื่องจาก Trend การดูแลสุขภาพของประชาการโลกนั้นให้ความสนใจและหาสถานที่รักษาสุขภาพที่ดีมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่แพง รวมถึง จากนโยบายของรัฐที่มีแผนผลักดันประเทศไทยให้เป็น Medical Hub Service ของ Asean ซึ่งสามารถนำไปแตกยอดความคิดได้อีกมากมายเช่นธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น เห็นได้ว่าการให้บริการด้านธุรกิจการแพทย์กำลังเติบโตและทำเม็ดเงินมหาศาลเข้าสู่ประเทศ ดังนั้นการนำ AI Technology เข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบจัดการต่างๆของอุตสาหกรรมยา การแพทย์และการรักษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน ตัวอย่าง กลุ่ม Start Up ด้านการแพทย์ และงานทดลองวิจัย ได้แก่

  • Babylon Health จากประเทศอังกฤษ และ Ada Health จากประเทศเยอรมนี ได้สร้าง Platform สำหรับวินิจฉัยโรคเบื้องต้นด้วย AI ผสานกับ Telemedicine โดยผู้ใช้สามารถสอบถามอาการเบื้องต้น จากนั้น AI ก็จะวิเคราะห์ว่าควรพบแพทย์หรือไม่ หากต้องพบก็สามารถ Video Call หาแพทย์ในเครือข่ายได้ทันที

  • ดร.โธมัสอาร์ แอลซี ผู้ก่อตั้งบริษัทชื่อ MindStrong ในแคลิฟอร์เนีย ใช้ AI ทำการวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้า และความผิดปกติทางจิตอื่นๆ ของมนุษย์จากการใช้สมาร์ทโฟน และพบว่า AI สามารถจับสัญญาณภาวะซึมเศร้าได้โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการเคาะ เลื่อน และคลิกสมาร์ทโฟนของมนุษย์ได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น

          ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนเล็กๆในการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้กับวงการยาและแพทย์เพื่อพัฒนาให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ถึงแม้ว่า AI จะมีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยแต่สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้นั่นก็คือความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และความเคารพที่ผู้ป่วยมีให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และในปัจจุบันบุคลากรด้านการแพทย์ต้องปรับตัวและทำงานร่วมกับเทคโนโลยี AI โดยมีเทคโนโลยี AI เป็นเพียงฝ่ายสนับสนุนเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดียิ่งขึ้น

แหล่งที่มา

Kumba Sennaar .  AI in Pharma and Biomedicine – Analysis of the Top 5 Global.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562, จาก https://emerj.com/ai-sector-overviews/ai-in-pharma-and-biomedicine/

Daniel Faggella .  Machine Learning Healthcare Applications – 2018 and Beyond.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562, จาก https://www. Techmergence.com

Todd Frankel .  It’s game over for the robot intended to replace anesthesiologists.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562, จาก https://emerj.com/ai-sector-overviews/machine-learning-healthcare-applications/

Megan Ray . (2018, 17 Jul).  How Will AI Improve Medical Device Manufacturing?.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562, จาก https://theiotmagazine.com/how-will-ai-improve-medical-device-manufacturing-a76e877bc7a2

ไทยรัฐฉบับพิมพ์ . (2018, 29 Dec).  “คุณหมอหุ่นยนต์” AI การแพทย์..เปลี่ยนชีวิตมนุษย์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562, จาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/1456730

พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล  . (2018, 12 Nov).  AI จะมาแทนที่หมอ? เกิดอะไรขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์รู้ลึกกว่าแพทย์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562, จาก https://thestandard.co/lymph-node-assistant/

Techsauce Team  . (2019, 4 Jan).  เมื่อ AI ปฏิวัติวงการแพทย์ ภาครัฐมุ่งดันไทยเป็น Medical Hub ในเอเชีย.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562, จากhttps://techsauce.co/news/%E0%B9%89healthy-revolution-ai

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ระบบ AI,เทคโนโลยี AI,เทคโนโลยีทางการแพทย์
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 10 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11230 AI กับเทคโนโลยีทางการแพทย์ /article-technology/item/11230-ai-11230
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ใครสร้างพีระมิด
ใครสร้างพีระมิด
Hits ฮิต (17520)
ให้คะแนน
พีระมิด แห่งกีซ่าในประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็น 1 ใน 7 มหัศจรรย์ของโลกโบราณ มีขนาดใหญ่โตและสร้างความอัศจร ...
รู้หรือไม่...อาหารหล่นไม่ถึง 5 นาที ก็กินไม่ได้
รู้หรือไม่...อาหารหล่นไม่ถึง 5 นาที ก็กิ...
Hits ฮิต (14567)
ให้คะแนน
เคยเป็นมั๊ยคะ เวลาทำอาหารตกในบ้าน ก็จะหยิบอาหารชิ้นนั้นขึ้นมากินต่อโดยไม่สนใจอะไร ในเมื่อมันตกในบ้า ...
ดูแลผิวสวยสำหรับสาวทำงาน
ดูแลผิวสวยสำหรับสาวทำงาน
Hits ฮิต (14116)
ให้คะแนน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก lisa และวิชาการดอทคอม ปัญหาที่สาวทำงานมักพบกันมาก เรามีวิธีรับมือกับมัน เพื่อให้ส ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)