logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • สะเต็มศึกษา
  • เทคโนโลยีกับสะเต็มศึกษา

เทคโนโลยีกับสะเต็มศึกษา

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 14 กุมภาพันธ์ 2562
Hits
17210

     หากจะกล่าวถึงนิยามของ Technology หรือ T ในความหมายของสะเต็ม (STEM) แล้วนั้น เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นบนพื้นฐานความเป็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมักจะเอื้อประโยชน์ อำนวยความสะดวกหรือแม้แต่เพื่อความปลอดภัยต่อมนุษย์เอง เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องผ่านกระบวนการออกแบบทางเทคโนโลยี (Technological Design Process) ซึ่งกระบวนการนี้เองมีความคล้ายคลึงกันกับกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เพราะทั้งสองกระบวนการต่างมุ่งเน้นวิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหานั่นเอง

9103 1
ภาพที่ 1 เทคโนโลยีดิจิตอล
ที่มา https://pixabay.com/ ,TheDigitalArtist

       รูปแบบการศึกษาในปัจจุบันที่มุ่งเน้นส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาจึงเน้นที่การพัฒนาศักยภาพและความรู้เรื่องเทคโนโลยี (Technology Literacy) ให้กับผู้เรียนโดยการมุ่งพัฒนาความสามารถในการใช้ การจัดการ การประเมินและเข้าใจในเทคโนโลยี ซึ่งปรัชญาหนึ่งของการศึกษาเทคโนโลยี คือ การสอนให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดแก้ปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นทักษะสำคัญในการดำรงชีวิตในระยะยาว เพราะทักษะการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนรู้ การคิดหาแนวทางแก้ปัญหา การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล จนถึงการคิดตัดสินใจเพื่อที่จะนำไปสู่หนทางการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหานั้นโดยอาศัยกระบวนการแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีศึกษา เช่น การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) หรือ R & D วิธีการทางวิทยาศาสตร์และการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Methods & Scientific Inquiry) กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design Process) หรือ EDP การประดิษฐ์และนวัตกรรม (Interventions & Innovations) รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) หรือ AI  เป็นต้น

9103 2
ภาพที่ 2 วิวัฒนาการของเทคโนโลยี
ที่มา https://pixabay.com/ ,PhotoMIX-Company

       ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ มีนักวิชาการบางท่านได้ให้นิยามของเทคโนโลยีในอีกมุมมองที่แตกต่างไว้  ว่า 1) เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นสิ่งของ technology as object 2) เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นความรู้   technology as knowledge 3) เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นกิจกรรม technology as activity และ 4)    เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นแนวทางเลือก technology as volition (Mitcham, 1994) ซึ่งหากเรามองเทคโนโลยีในฐานะที่เป็นความรู้ เทคโนโลยีนี้จะเกี่ยวข้องกับความรู้สองประเภทที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ คือ ความรู้ในเชิงมโนมติ (Conceptual knowledge) และความรู้ในเชิงกระบวนการ (procedural knowledge)   

        ประเภทแรกคือ ความรู้ในเชิงมโนมติ (Conceptual knowledge) คือ การรู้ว่าอะไรคืออะไรและเป็น  อย่างไร (knowing that) เช่น เมื่อเราพิจารณาความรู้ที่จะนำมาสร้างสิ่งของ อุปกรณ์ หรือระบบการควบคุม  ต่างๆ เทคโนโลยีในความหมายนี้จึงหมายรวมถึงศาสตร์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทุกด้านทุกแขนงที่  เกี่ยวข้องสัมพันธ์ เพื่อนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้น และการพัฒนาทางเทคโนโลยีนั่นเอง อีกประเภทหนึ่งคือ   ความรู้ในเชิงกระบวนการ (procedural knowledge) คือ การรู้ว่าจะทำอย่างไร (knowing how) โดยความรู้  ในเชิงกระบวนการจะซ่อนอยู่ในตัวบุคคลเพราะเป็นเรื่องการออกแบบ (Design), การทำตัวแบบ (Modelling),   การแก้ปัญหา(Problem Solving), แนวทางการสร้างระบบ (Systems Approaches), การวางแผนโครงการ (Project Planning), การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และวิธีการทำให้เหมาะสมที่สุด (Optimization) ซึ่งเทคโนโลยีประการหลังจึงเป็นเทคโนโลยีความรู้ในเชิงกระบวนการ  (Herschbach, 1995)

       อย่างไรก็ดี แม้ว่าเทคโนโลยีจะถูกให้นิยามในหลายๆความหมายดังที่เราได้กล่าวกันมาในข้างต้นนั้น แต่ความหมายโดยนัยแล้ว เทคโนโลยีกับสะเต็มศึกษาก็คือศาสตร์ความรู้หรือองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการคิดแก้ปัญหา การศึกษาศาสตร์ความรู้ในประเด็นนั้น ๆ การพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่กระบวนการแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี ซึ่งมีความคล้ายคลึงและสอดคล้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เราเรียกว่ากระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ จากเหตุปัจจัยนี้เองทำให้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจนแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้เลยทีเดียว เราะหากพูดถึงวิทยาศาสตร์ก็มักจะเชื่อมโยงมายังเทคโนโลยี และหากพูดถึงเทคโนโลยีก็มักจะเชื่อมโยงมายังวิทยาศาสตร์เฉกเช่นเดียวกัน     

แหล่งที่มา

สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มและลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค.). หน้า 13-34. สืบค้น 13  กันยายน 2561, จาก http://www.edjournal.stou.ac.th/filejournal/

Bybee, R. (2010, 27th August). What Is STEM Education?. Retrieved March 18, 2018, from http://science.sciencemag.org/content/329/5995/996

Gibson, K. (2008). Technology and technological knowledge: A challenge for school

curricula. Teachers and Teaching: Theory and practice, 14(1), 3-15.

Herschbach, D. R. (1995). Technology as knowledge: Implications for instruction. Journal of

Technology Education, 7(1), 31-42.

Mitcham, C. (1994). Thinking through technology. Chicago: The University of Chicago Press.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สะเต็มศึกษา, เทคโนโลยี, ความรู้, การสืบเสาะหา, ปัญหา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 13 ตุลาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
สะเต็มศึกษา
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9103 เทคโนโลยีกับสะเต็มศึกษา /article-stem/item/9103-2018-10-18-08-35-19
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
แจกฟรี เอกสารด้านสะเต็มศึกษา
แจกฟรี เอกสารด้านสะเต็มศึกษา
Hits ฮิต (90486)
ให้คะแนน
สสวท. แจกฟรี เอกสารด้านสะเต็มศึกษา ดาวน์โหลดเลย "ความรู้เบืองต้นสะเต็มศึกษา" https://goo.gl/QNimHb ...
คลังความรู้ SciMath
คลังความรู้ SciMath
Hits ฮิต (79412)
ให้คะแนน
คลังความรู้ SciMath ภายใต้ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลฯ สสวท. แหล่งรวบรวมสื่อการสอนที่สนับสนุนให้นักเรียนแล ...
เตรียมความพร้อมสู่การสอบคัดเลือกเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯ
เตรียมความพร้อมสู่การสอบคัดเลือกเข้าโครง...
Hits ฮิต (82385)
ให้คะแนน
เตรียมความพร้อมสู่การสอบคัดเลือกเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯ ขณะนี้ ระบบการสอบออนไลน์ ของศูนย์การเรี ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)