logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • สะเต็มศึกษา
  • เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรให้สัมพันธ์กับสะเต็ม?

เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรให้สัมพันธ์กับสะเต็ม?

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 31 มกราคม 2562
Hits
14508

           อย่างที่เราได้ทราบกันก่อนนี้แล้วว่าสะเต็มศึกษาคืออะไร? และเราจะสามารถบูรณาการสะเต็มลงสู่ชั้นเรียนอย่างไรนั้น? ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้จากปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)  เรียนรู้วิธีการออกแบบ และแก้ปัญหา (Problem Solving Solutions) รวมไปถึงการตัดสินใจเลือกและทดสอบวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ เพื่อนำไปสู่การหาคำตอบหรือนำมาซึ่งการพิสูจน์หาคำตอบที่แท้จริงเชิงวิทยาศาสตร์อีกด้วย

9093 1

ภาพ กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ 
ที่มา https://pixabay.com/ ,kkolosov

 

        ในความหมายของสะเต็มศึกษา หรือ STEM Education ตามที่นักวิชาการหรือองค์กรด้านการศึกษาได้ให้นิยามไว้แล้วนั้น  หากจะกล่าวถึงความหมายที่แท้จริงของ Science หรือนิยามของวิทยาศาสตร์ใน STEM นั้น วิทยาศาสตร์ยังหมายถึงการศึกษาในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature Of Science, NOS) หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับโลก การเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปรวมถึงที่มาของสิ่งต่างๆ ปรากฏการณ์ต่างๆของโลกทั้งที่มนุษย์เป็นผู้กระทำให้เกิดหรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติก็ตามที สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดศาสตร์ทางด้านความรู้ (Knowledge) นำไปสู่การได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้มาใช้ในการศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัวเรา เช่น กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติทื่อยู่รอบตัว เพื่อนำมาสู่การพิสูจน์ การอธิบายจากหลักฐานที่ปรากฏนำไปสู่ข้อสรุป เกิดเป็นหลักการ (Principal) หรือทฤษฎี (Theory) ทางวิทยาศาสตร์ดังที่เราได้ทราบกันดีในปัจจุบัน 

        อีกทั้งการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คือ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการสืบเสาะหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้มีงานวิจัยของ Olson et. al. (2000) กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียน ควรจัดให้สอดคล้องกับ 5 ลักษณะ ดังนี้ 1) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประเด็นคำถามทางวิทยาศาสตร์ 2) ผู้เรียนให้ความสำคัญกับข้อมูลหลักฐาน 3) ผู้เรียนสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ตามข้อมูล 4) ผู้เรียนเชื่อมโยงคำอธิบายของตนกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือคำอธิบายอื่นๆ และ 5) ผู้เรียนสื่อสารและให้เหตุผล ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีบทบาทในการลงมือปฏิบัติมากหรือน้อยได้ตามระดับการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพและพัฒนาการทางการเรียนรู้ของผู้เรียน 

        นอกจากนี้ในการพิสูจน์หาคำตอบหรือแม้แต่การให้ได้มาซึ่งข้อสรุปของสมมติฐานหรือคำตอบของปัญหาในการศึกษาวิทยาศาสตร์นั้น วิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process) ยังคงเป็นวิธีการหรือทางเลือกหนึ่งของกระบวนการในการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อนำไปสู่การหาคำตอบหรือแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงเช่นเดียวกันเพียงแต่ครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบกิจกรรมควรผสมผสานให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้เรียน บริบทของผู้สอนหรือผู้ออกแบบกิจกรรม บริบทของสภาพแวดล้อม รวมถึงบริบทของสังคมวัฒนธรรมอีกด้วย

แหล่งที่มา

สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มและลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค.). หน้า 13-34. สืบค้น 13  กันยายน 2561, จาก http://www.edjournal.stou.ac.th/filejournal/

Bybee, R. (2010, 27th August). What Is STEM Education?. Retrieved March 18, 2018, from http://science.sciencemag.org/content/329/5995/996

Vasquez, Jo Anne, Cary Sneider, and Michael Comer. (2013). STEM lesson essentials, grades

3-8: Integrating science, technology, engineering, and mathematics. Portsmouth,

NH: Heinemann Publishing.

Zollman, A. (2012). Learning for STEM literacy: STEM literacy for learning. School Science and Mathematics, 112(1), 12–19. Retrieved from http://doi.org/10.1111/j.1949-8594.2012.00101.x

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สะเต็มศึกษา, STEM, ปัญหาเป็นฐาน, PBL, วิทยาศาสตร์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 13 ตุลาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
สะเต็มศึกษา
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9093 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรให้สัมพันธ์กับสะเต็ม? /article-stem/item/9093-2018-10-18-08-03-02
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป
ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป
Hits ฮิต (27662)
ให้คะแนน
เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้กล้องถ่ายรูปกันอย่างแน่นอน ซึ่งคงเป็นเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่กล้องชนิดฟิล์มใ ...
เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!?
เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!?
Hits ฮิต (13753)
ให้คะแนน
เทอร์โมไดนามิค (Thermodynamics) เป็นแขนงหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์ ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะได้ศึกษาตั้งแ ...
ป่าในเมืองช่วยคลายความร้อนได้อย่างไร
ป่าในเมืองช่วยคลายความร้อนได้อย่างไร
Hits ฮิต (10016)
ให้คะแนน
อุณหภูมิของประเทศไทยเราช่วงนี้มีอากาศร้อนขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มน่าจะร้อนเพิ่มขึ้นทุกปีๆ โดยเฉพาะก ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)