logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • สะเต็มศึกษา
  • บูรณาการสะเต็มกับชั้นเรียนอย่างไรให้น่าสนใจ

บูรณาการสะเต็มกับชั้นเรียนอย่างไรให้น่าสนใจ

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 13 ธันวาคม 2561
Hits
15750

         การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความน่าสนใจเป็นสิ่งหนึ่งที่ครูควรเลือกสรรและออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตรงตามศักยภาพความถนัดและความสนใจ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนและเข้าถึงในองค์ความรู้นั้นโดยแท้จริง การบูรณาการกิจกรรมสะเต็มศึกษาในชั้นเรียนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem Solving) การออกแบบ และวางแผนการวิธีแก้ปัญหา (Problem Solutions) รวมไปถึงการตัดสินใจเลือกและทดสอบวิธีการแก้ปัญหา นั้น ๆ (Decision Making)  ซึ่งครูจะมีบทบาทเป็นเพียงผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และผู้ให้คำแนะนำในระหว่างผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เท่านั้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยแท้จริง

8663 1

ภาพที่ 1 ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ที่มา https://pixabay.com/ ,Geralt

ลักษณะของการบูรณาการกิจกรรมสะเต็มศึกษา

           การบูรณาการภายในวิชา (Disciplinary Integration) เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการผสมผสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ (Knowledge) หรือเนื้อหา (Content) และทักษะ (Skill) ในแต่ละวิชาแยกส่วนกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น  ครูคนหนึ่งสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาปริมาตรของรูป ทรงกระบอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายและคำนวณหาปริมาตรของน้ำหวานที่บรรจุในกระป๋องน้ำอัดลมได้ จะเห็นได้ว่าผู้เรียนต้องมีทักษะในการคำนวณหาปริมาตรของของเหลวที่บรรจุภายใน ภาชนะรูปทรงกระบอก ผนวกกับทักษะในการเขียนหรือพูดอธิบายให้ครูหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนสามารถเข้าใจถึงวิธีการคำนวณในการได้มาซึ่งคำตอบนั้น ๆ จากตัวอย่างนี้ทำให้เห็นถึงการบูรณาการระหว่างความรู้ความเข้าใจเรื่องการวัดปริมาตร เชื่อมโยงและสัมพันธ์กับทักษะในการคิดคำนวณ ซึ่งถือว่าเป็นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการภายในวิชานั่นเอง

          การบูรณาการระหว่างวิชา (Interdisciplinary Integration) เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ (Knowledge) หรือเนื้อหา (Content) ของทุกวิชาที่สัมพันธ์กันมาอยู่ภายใต้หัวเรื่อง (Topic)  ของการเรียนรู้และเกิดทักษะ(Skill) หรือความมุ่งหมาย (Objective) เดียวกัน โดยการบูรณาการลักษณะนี้อาจเชื่อมโยงได้ตั้งแต่ 2 รายวิชาขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการ เรียนรู้นั้น ๆ เช่น การจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์สอดแทรกเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์เข้าไปในการสอนของตน อาจเป็นการออกแบบวางแผนการสอนและดำเนินการสอนโดยครูเพียงผู้เดียว หรือครูทั้งสองวิชาร่วมกันแต่ภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน ผู้เรียนคนละกลุ่มกันแต่มีการมอบหมายงานหรือโครงการร่วมกันระหว่างครูทั้งสองวิชา การจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาควบคู่กับการฝึกทักษะที่มีความสอดคล้องกันของวิชาที่เกี่ยวข้องกันผ่านกิจกรรมบูรณาการ ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาได้อย่างชัดเจนขึ้น

          การบูรณาการข้ามวิชา ( Transdisciplinary Integration) เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ (Knowledge) หรือเนื้อหา (Content) ของทุกวิชาที่สัมพันธ์กันมาอยู่ภายใต้หัวเรื่อง (Topic)  ของการเรียนรู้และเกิดทักษะ(Skill) หรือความมุ่งหมาย (Objective) เดียวกัน  โดยการบูรณาการลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกันกับการบูรณาการระหว่างวิชา (Interdisciplinary Integration) คือเชื่อมโยงได้ตั้งแต่ 2 รายวิชาขึ้นไปแต่จะแตกต่างกันในบางประเด็นความสำคัญ เช่น การจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ออกแบบวางแผนการสอนและดำเนินการสอนร่วมกัน ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน สอดแทรกเนื้อหาของแต่ละวิชาเข้าไปในการสอนของตนภายใต้ความมุ่งหมายหรือทักษะเดียวกันที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาควบคู่กับการฝึกทักษะที่มีความสอดคล้องกันของวิชาที่เกี่ยวข้องกันผ่านกิจกรรมบูรณาการ ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาได้อย่างชัดเจนขึ้นจนเกิดการประยุกต์และนำไปบูรณาการต่อการดำรงชีวิตของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง

แหล่งที่มา

Bybee, R. (2010, 27th August). What Is STEM Education?. Retrieved March 18, 2018, from http://science.sciencemag.org/content/329/5995/996

Bybee, R. (2010).  Advancing STEM Education: A 2020 Vision. Technology and  Engineering Teacher, 70(1), pp. 30-35. 

Vasquez, Jo Anne, Cary Sneider, and Michael Comer. (2013). STEM lesson essentials, grades

3-8: Integrating science, technology, engineering, and mathematics. Portsmouth, NH: Heinemann Publishing.

Yager, R. & Brunkhorst, H. (2014). Exemplary STEM Programs: Designs for Success. Arlington, VA: NSTA Press.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ชั้นเรียน,สะเต็ม, กิจกรรม, บูรณาการ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 20 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
สะเต็มศึกษา
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8663 บูรณาการสะเต็มกับชั้นเรียนอย่างไรให้น่าสนใจ /article-stem/item/8663-2018-09-11-08-01-38
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Edmond Halley
Edmond Halley
Hits ฮิต (18922)
ให้คะแนน
...Edmond Halley... ดร. สุทัศน์ ยกส้าน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โลกรู้จ ...
Blue Origin จะพาเราไปพักผ่อนที่ดวงจันทร์!
Blue Origin จะพาเราไปพักผ่อนที่ดวงจันทร์...
Hits ฮิต (15884)
ให้คะแนน
ทุกท่านคงทราบกันเป็นอย่างดีว่ามนุษยชาติของเรานั้นเคยขึ้นไปสัมผัสพื้นผิวอันน่าพิศวงของดวงจันทร์กันมา ...
จันทร์ยิ้ม
จันทร์ยิ้ม
Hits ฮิต (18657)
ให้คะแนน
จันทร์ยิ้ม คนไทยทั่วประเทศมีความสุขที่ได้เห็น “จันทร์ยิ้ม” ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในเวลาหัวค่ำของวันท ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)