logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • เตือนภัยคนขี้เกียจ !!!เคยมีสิ่งมีชีวิตที่ขี้เกียจจนสูญพันธ์ุมาเเล้ว

เตือนภัยคนขี้เกียจ !!!เคยมีสิ่งมีชีวิตที่ขี้เกียจจนสูญพันธ์ุมาเเล้ว

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 17 ธันวาคม 2561
Hits
12694

          มีใครในที่นี้เคยรู้สึกขี้เกียจบ้าง พรึ่บ! เสียงคนยกมือเพียบชนิดที่แบบนับกันไม่หวาดไหว แล้วมีใครในที่นี้ไม่เคยเลยที่จะรู้สึกขี้เกียจบ้าง ทันใดที่คำถามนี้เกิดขึ้น ความเงียบสงัดจะเข้าครอบงำห้องประชุม หรือห้องบรรยายแห่งนั้น แต่เต็มไปด้วยรอยยิ้มมุมปากเล็ก ๆ ของผู้คน ความขี้เกียจเป็นสิ่งที่มนุษย์น่าจะทุกคนนะที่เคยมีความรู้สึกนี้ จริง ๆ แล้วมนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ขี้เกียจ ขี้เกียจมากเสียด้วย แต่เราโชคดี ธรรมชาติสร้างให้เราขี้เกียจแต่ว่าธรรมชาติได้มอบปัญญาอันหลักแหลมและยิ่งใหญ่มาให้เราด้วย ทุกวันนี้เราถึงมีเทคโนโลยีต่าง ๆ  นวัตกรรมต่าง ๆ มากมาย ที่ช่วยให้ชีวิตมนุษย์อย่างเรานั้นมีความสะดวกรวดเร็วมากกว่าในอดีตยิ่งขึ้น งั้นความขี้เกียจก็ดีน่ะสิ ค่อนข้างมั่นใจที่จะพูดว่าความขี้เกียจนั้นดีในหลาย ๆ แง่ มันทำให้โลกเรามีการพัฒนา แต่ทั้งนี้ก็ต้องยึดตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง ซึ่งหมายถึงการไม่สุดทางทั้ง 2 อันได้แก่ 1.อัตตกิลมถานุโยค คือ การไม่ประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป และ 2.กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกาม ในความสบาย เพราะอะไรที่มากเกินไปมันก็ไม่ดี ทีนี้มาเข้าเรื่องของเรากัน ในอดีตที่ผ่านมาเคยมีสิ่งมีชีวิตที่ยึดติดและสุดในทางที่ 2 เป็นอย่างมาก (กามสุขัลลิกานุโยค) มากจนกระทั่งว่า สูญพันธุ์ เผ่าพันธุ์นั้นได้บรรลุความขี้เกียจขั้นสุดยอด แบบทั้งเผ่าพันธุ์ จนกระทั่งถึงขั้นสูญพันธุ์กันเลยทีเดียว

8665 1

ภาพ Homo erectus

ที่มา https://www.livescience.com/41048-facts-about-homo-erectus.html

         เผ่าพันธุ์นั้นมีชื่อว่า มนุษย์โบราณโฮโม อีเร็กตัส ผลการศึกษาทางโบราณคดีชี้ว่า มนุษย์โบราณโฮโม อีเร็กตัส (Homo erectus) หรือ "มนุษย์ผู้ยืนตัวตรง" ต้องสูญพันธุ์ไปด้วยสาเหตุส่วนหนึ่งจากความเกียจคร้าน ไร้ความพยายามในการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือให้ดีขึ้น และไม่ขวนขวายเก็บสะสมทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เครื่องมือหินของโฮโม อีเร็กตัส ล้วนประดิษฐ์ขึ้นจากก้อนหินชนิดใดก็ได้ที่หาเก็บได้ง่ายในบริเวณใกล้ที่พัก แม้ว่าจะเป็นก้อนหินที่มีคุณภาพต่ำก็ตาม ในขณะที่บนเนินเขาเตี้ย ๆ ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลมากนัก มีกองหินที่มีคุณภาพดีกว่าตั้งอยู่ แต่ก็ไม่พบร่องรอยการสกัดหินหรือการใช้ประโยชน์จากกองหินดังกล่าว ไม่เพียงแต่โฮโม อีเร็กตัสจะมีนิสัยเกียจคร้านเท่านั้น พวกเขายังออกจะอนุรักษ์นิยมมากด้วย เห็นได้จากเรื่องที่ไม่มีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือ ดำรงชีวิตแบบเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง หลักฐานทางธรณีวิทยาชี้ว่า พื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขากำลังแห้งแล้งเป็นทะเลทรายขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่มีร่องรอยการอพยพเลย บริเวณที่เราพบเครื่องมือหินของโฮโม อีเร็กตัส ล้วนอยู่ไม่ห่างจากทางน้ำซึ่งตอนนี้แห้งเหือดไปหมดแล้ว และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้นั้นเองที่ทำให้มนุษย์เผ่าพันธุ์นี้ไม่สามารถอยู่รอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล รวมทั้งต่างกับมนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโม เซเปียนส์อีกด้วย เนื่องจากทั้งสองเผ่าพันธุ์นี้มีการปีนเขาเพื่อเสาะหาแหล่งหินคุณภาพดี และมีการสกัดขนส่งหินมาใช้จากแหล่งที่อยู่ห่างไกล

เรื่องนี้สอนอะไรเรา?

          เรื่องนี้สอนเราในเรื่องของทางสายกลางได้เป็นอย่างดี อะไรต่างๆบนโลกนี้ มันไม่ได้มีสีดำ หรือสีขาวทั้งหมด มันเป็นสีเทาๆ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับตัวเราเองแล้ว ว่าจะเลือกให้มันเป็นด้านไหนมากกว่ากัน เช่นเดียวกับมนุษย์โบราณโฮโม อีเร็กตัส ถ้าพวกเขาลดความขี้เกียจให้น้อยลงกว่านี้ เผ่าพันธุ์ของพวกเขาก็คงจะไม่สูญพันธุ์และน่าจะยังคงอยู่เป็นบรรพบุรุษเราอย่างแน่นอน กลับกันถ้ามนุษย์เราในปัจจุบันไม่ขี้เกียจเลย ขยันมาก ๆ สุดในความขยันมาก ไม่ได้คิดหนทางใหม่ ๆ ที่ง่ายขึ้นเลย เราก็คงไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ มากมายที่ช่วยชีวิตเราให้สบายขนาดนี้ แล้วท่านผู้อ่านเคยถามตัวเองแล้วรึเปล่า “ว่าเราขี้เกียจอย่างพอดีและใช้ปัญญาของเราอย่างเหมาะสมแล้วรึยัง?”

แหล่งที่มา

BBC NEWS. (2561, 18 สิงหาคม).  มนุษย์โบราณโฮโม อีเร็กตัส สูญพันธุ์เพราะ “ขี้เกียจ”.  สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2561, จาก https://www.bbc.com/thai/features-45232934

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ขี้เกียจ,โฮโม อีเร็กตัส,Homo erectus,สูญพันธุ์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 22 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8665 เตือนภัยคนขี้เกียจ !!!เคยมีสิ่งมีชีวิตที่ขี้เกียจจนสูญพันธ์ุมาเเล้ว /article-science/item/8665-2018-09-11-08-03-56
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เรียนไฟฟ้าด้วย AR ตอน 1
เรียนไฟฟ้าด้วย AR ตอน 1
Hits ฮิต (7004)
ให้คะแนน
การเรียนเรื่องไฟฟ้า หลายคนก็อาจจะนึกถึงการเขียนวงจรที่ยุ่งยาก การคำนวณกระแสไฟฟ้า ไหนจะความสลับซับซ้ ...
ความลับของหน้าต่างบนเครื่องบิน
ความลับของหน้าต่างบนเครื่องบิน
Hits ฮิต (13778)
ให้คะแนน
กลับมาอีกครั้งกับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องบิน ผู้เขียนได้เขียนบทความเกี่ยวกับเครื่องบินไว้หลายเร ...
ได้ยินหรือไม่ได้ยิน ทดสอบกันอย่างไร
ได้ยินหรือไม่ได้ยิน ทดสอบกันอย่างไร
Hits ฮิต (23305)
ให้คะแนน
หู อวัยวะสำคัญสำหรับการได้ยิน 1 ใน 5 อวัยวะประสาทสัมผัสของมนุษย์เรา วันนี้มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับอาก ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)