logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ขี้แมลงวัน เกิดขึ้นได้อย่างไร

ขี้แมลงวัน เกิดขึ้นได้อย่างไร

โดย :
Jiraporn Pakorn
เมื่อ :
วันอังคาร, 26 กันยายน 2560
Hits
202902

 ขี้แมลงวัน (Lentigines) ที่ใครหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าขี้แมลงวันเกิดจากแมลงวันบินมาขี้ไว้ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย

          แท้จริงแล้วเกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ผิวหนังตัวที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสี เป็นภาวะปกติของผิวหนังที่พบได้บ่อย ๆ ในเกือบทุกคน จะมากน้อยแตกต่างก็แล้วแต่เชื้อชาติ กรรมพันธุ์ และตัวบุคคลเอง ขี้แมลงวันสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย มันเกิดตั้งแต่ตอนที่เรายังเป็นเด็ก ๆ จนเราโตเป็นผู้ใหญ่ ขี้แมลงวันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องที่ใครหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าขี้แมลงวันเกิดจากแมลงวันบินมาขี้ไว้ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย จะพบมากเป็นพิเศษเมื่อเราโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เรื่อย ๆ ทั้งนี้เกิดจากร่างกายของเรานั้นผลิตสารที่เรียกว่า เมลาโนไซต์ หรือถ้าจะให้เข้าใจง่าย ๆ นั้นก็คือ ร่างกายของเราผลิตเม็ดสีที่ผิดปกติ 

 

7433 1

ภาพที่ 1 ลักษณะของขี้แมลงวัน
ที่มา https://www.thaisabuy.com/beauty/lentigine/

สาเหตุที่เกิดขึ้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน

           ยกตัวอย่างเช่น พันธุ์กรรมของสาว ๆ แต่ละคน หรืออาจจะเกิดจากแสงแดด เป็นต้น ขี้แมลงวันที่เกิดขึ้นนั้น จะไม่เป็นอันตรายต่อเราแต่อย่างไร แต่จะสร้างความน่ารำคาญให้เรา เมื่อเรามองเห็นจุดต่าง ๆ ที่เป็นขี้แมลงวัน ในบริเวณที่เราไม่ต้องการ อย่างเช่น บริเวณบนใบหน้า เป็นต้น แต่เราสามารถ ที่จะกำจัดขี้แมลงวัน ที่เกิดขึ้นบนร่างกายของเราต่างๆ ได้ด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การจี้ขี้แมลงวันออกจากร่างกาย การยิงเลเซอร์ขี้แมลงวันออกจากร่างกาย หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดขี้แมลงวันออกจากร่างกายของเรา เป็นต้น

ไฝ และขี้แมลงวัน

           มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของ Melanocyte (ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) โดยมีหน้าที่ใน การสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งปริมาณและขนาดของเมลานิน จะเป็นตัวกำหนดสีผิวของคนเรา ว่าจะมีผิวขาว ผิวคล้ำ มากน้อยเพียงใด ) แล้วเกิดเป็นเนื้องอกจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เมลาโนไซท์ โดยไฝจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูน ส่วนขี้แมลงวันจะเป็นตุ่มราบสีดำ และอยู่ตื้นกว่าไฝ โดยทั่ว ๆ ไป ไฝ และขี้แมลงวัน จะมีการเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างช้า ๆ ซึ่งมักจะสังเกตได้ในช่วงวัยรุ่น หรือตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในบริเวณทั่วตัวพร้อม ๆ กัน และมีการติดตามแล้วพบว่า ไฝ และขี้แมลงวัน จะมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ที่เรียกว่า Melanoma ซึ่งมีอันตรายร้ายแรง และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ในคนไทยพบได้น้อย ดังนั้นการสังเกตความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แรกเริ่ม จึงมีความจำเป็น และแก้ไขได้ทันท่วงที

          ลักษณะของขี้แมลงวัน

              1.ผื่นผิวราบ หรือจุดขนาดเล็ก (มักมีเส้นผ่าศูนย์กลาง น้อยกว่า 0.5 ซม.) ขอบเขตชัด

              2.มีสีน้ำตาล, สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ อาจมีสีสม่ำเสมอ หรือไม่สม่ำเสมอในเม็ดเดียวกัน

              3.มักพบเป็นเม็ดเดียว หรือหลายเม็ด ในบริเวณที่โดนแดดจัด เช่น หน้า, แขน, และขา แต่อาจพบได้ในบริเวณอื่นที่ไม่โดนแดด เช่น ลำตัว เนื้อเยื่ออ่อน (กระพุ้งแก้ม, ตา) รวมถึงฝ่ามือ ฝ่าเท้าลักษณะของ

ปัจจัยกระตุ้น

          ส่วนใหญ่จากแสงแดดโดยตรง ถ้าเป็นขี้แมลงวันผิวราบปกติไม่ขยายขนาดขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้าสีเข้มขึ้นมาก ขอบเขตไม่เรียบอาจต้องตัดออก และส่งชิ้นเนื้อ เพื่อตรวจดูว่าเป็นมะเร็ง (Lentigo Maligna) หรือไม่ถ้ารักษาเพื่อความสวยงาม โดยเฉพาะที่หน้า สามารถหายได้โดยจี้ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า (Ellman) หรือทำเลเซอร์ (Laser) ทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ถ้ากำจัดออกหมด ก็สามารถหายขาดได้ โดยปกติไม่สามารถป้องกันการเกิดได้ แต่แสงแดดจะทำให้เกิดสีของขี้แมลงวันเข้มขึ้นได้ จึงควรทาครีมกันแดดทุกวัน เพื่อป้องกันโอกาสในการเป็นมะเร็งได้

ขี้แมลงวันแบบไหน ที่เราควรจะต้องรีบไปพบแพทย์

          สำหรับขี้แมลงวันเกิดจากธรรมชาตินั้น จะมีขี้แมลงวันบางประเภทที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างความเดือดร้อนให้เรา จนเราต้องไปพบแพทย์ มิเช่นนั้น จะเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น กับร่างกายของเรา ขึ้นมาได้ ลักษณะของขี้แมลงวันแบบนี้ จะมีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน ดังต่อไปนี้

         1.ขี้แมลงวันที่เกิดขึ้นแล้ว เรารู้สึกว่าคัน และระคายเคืองผิวบริเวณนั้นบ่อย ๆ

         2.ขี้แมลงวันที่เกิดขึ้น บริเวณใต้ร่มผ้า และบนศีรษะ เพราะเป็นบริเวณผิวหนัง ที่ขี้แมลงวันเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะฉะนั้น รีบไปพบแพทย์

         3.ขี้แมลงวันที่เกิดขึ้น บนผิวหนังของเรา และมีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร เราจะถือว่า เป็นขี้แมลงวันที่เกิดขึ้นมาแล้วมีความใหญ่ที่ผิดปกติอย่างมาก เพื่อน ๆ คนไหน มีขี้แมลงวันที่มีลักษณะแบบนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนที่จะสายเกินแก้

          หากเพื่อน ๆ มีขี้แมลงวันบนผิวหนัง ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร  แต่ก็ต้องทราบรายละเอียดว่าขี้แมลงวันที่เกิดขึ้นบนผิวหนังเป็นลักษณะใด เป็นอันตรายหรือไม่ เมื่อพบว่าผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ ที่มีวิธีการรักษาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะของขี้แมลงวันแต่ละแบบ เพื่อทำการรักษาต่อไป

แหล่งที่มา

ขี้แมลงวันเกิดจาก อะไร? วิธีการกำจัดขี้แมลงวัน.สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2560.จาก https://www.thaisabuy.com/beauty/lentigine
ไฝกับขี้แมลงวันไม่เหมือนกัน.สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2560.จาก http://dodeden.com/131590.html

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ขี้แมลงวัน เกิดขึ้นได้อย่างไร
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
จิราภรณ์ ปกรณ์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7433 ขี้แมลงวัน เกิดขึ้นได้อย่างไร /article-science/item/7433-2017-08-10-08-15-39
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป
ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป
Hits ฮิต (27662)
ให้คะแนน
เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้กล้องถ่ายรูปกันอย่างแน่นอน ซึ่งคงเป็นเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่กล้องชนิดฟิล์มใ ...
เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!?
เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!?
Hits ฮิต (13753)
ให้คะแนน
เทอร์โมไดนามิค (Thermodynamics) เป็นแขนงหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์ ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะได้ศึกษาตั้งแ ...
ป่าในเมืองช่วยคลายความร้อนได้อย่างไร
ป่าในเมืองช่วยคลายความร้อนได้อย่างไร
Hits ฮิต (10016)
ให้คะแนน
อุณหภูมิของประเทศไทยเราช่วงนี้มีอากาศร้อนขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มน่าจะร้อนเพิ่มขึ้นทุกปีๆ โดยเฉพาะก ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)