logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • เรียนไฟฟ้าด้วย AR ตอน 2

เรียนไฟฟ้าด้วย AR ตอน 2

โดย :
ณัฐวิญญ์ สิรเดชธราทิพย์
เมื่อ :
วันศุกร์, 22 พฤษภาคม 2563
Hits
5929

          บทความที่แล้ว (ใครยังไม่ได้อ่าน แนะนำให้เข้าไปอ่านกันก่อน) เรียนไฟฟ้าด้วย AR ตอน 1 เราได้ทราบและแนะนำเบื้องต้นกันไปแล้ว  เกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยี AR เข้ามาศึกษาประกอบ สำหรับในตอนที่ 2 นี้เราจะยังอยู่กันที่การใช้แอปพลิเคชัน “Physic Lab AR” กันเช่นเคย แต่รับรองว่าสนุกสนานกว่าเดิมแน่นอน จะสนุกแค่ไหนต้องทดลองเปิดแอปพลิเคชันแล้วทำตามกันไปเลย

11234 1
ภาพที่ 1 หน้าจอแอปพลิเคชัน “Physic Lab AR”

          แน่นอนว่าการเรียนฟิสิกส์ เราหนีไม่พ้นที่จะต้องทำการทดลอง เพราะการได้ทดลองจะทำให้เราเข้าใจในทฤษฎีต่าง ๆ มากขึ้น แต่ในการทดลองเรื่องไฟฟ้า หลาย ๆ คนก็อาจจะกลัวกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการต่อวงจรผิดและทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายใช่ไหม ซึ่งอาจจะกลัวการเรียนเรื่องไฟฟ้าไปเลย Application Physics AR นี่แหละ จะช่วยทุกคนได้ บทความนี้อยากยกตัวอย่างการทดลองเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า และการทดลองประกอบเรื่อง การเขียนสมการไฟฟ้ากระแสสลับ

ไฟฟ้ากระแสสลับ         

          ไฟฟ้ากระแสสลับ หมายถึง กระแสไฟฟ้าที่มีการสลับสับเปลี่ยนขั้วอยู่ตลอดเวลาอย่าง สม่ำเสมอ ทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าก็จะเปลี่ยนสลับไปมาจากบวก-ลบและจากลบ-บวก อยู่ตลอดเวลา ซึ่งไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้าที่ใช้กันตามบ้านเรือนและโรงงาน อุตสาหกรรมทั่วไปเมื่อเรานำไฟฟ้ากระแสสลับมาเขียนเป็นกราฟความสัมพันธ์ ระหว่างแรงดันไฟฟ้ากับมุมที่เปลี่ยนไปเมื่อเวลาผ่านไปในขณะที่เกิดการไหล ของกระแสไฟฟ้าจะได้ความสัมพันธ์ของกราฟเป็นเส้นโค้งสลับขึ้นลงไปมานั่นคือเมื่อเวลาผ่านไปแรงดันไฟฟ้าจะสลับการไหลตลอดเวลา การไหลของกระแสสลับกลับไป กลับมาครบ 1 รอบ เรียกว่า 1 ไซเคิล (cycle) หรือ 1 รูปคลื่น และเวลาที่ครบ 1 ลูกคลื่น คือ คาบ มีหน่วยเป็น “วินาที” 

ถึงเวลามาเริ่มต้นทดลองโดยใช้แอปพลิเคชันกันเลย

เลือก menu

11234 2

ภาพที่ 2 หน้าจอการทดลอง และ เครื่องมือการทดลอง Student source และ Fixed resistance

11234 3

ภาพที่ 3 ต่อวงจรเลือกค่ากระแสไฟฟ้า 3 AC V ต่ออนุกรมกับความต้านทาน 100 โอห์ม เมื่อต่อวงจรเสร็จแล้วให้กดเปิดและเลือกเครื่องหมาย กราฟ AC current สังเกตกราฟที่เกิดขึ้น

11234 4

ภาพที่ 4 เมื่อปล่อยให้กราฟเคลื่อนที่ไปจนเต็มหน้าจอกดปุ่ม pause อีกทีจะเห็นกราฟดังรูป

11234 5

ภาพที่ 5 จากกราฟจะเห็นว่ากราฟมีแอมพลิจูด 45 mA และในช่วงเวลาที่ครบ 1 ลูกคลื่น คือ 0.1 วินาที นั่นหมายความว่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดมีค่าเท่ากับ 45 mA หรือ 45x10 - 3 A หลังจากนั้นก็หาค่าความถี่จากสมการ

       เราจะสามารถเขียนสมการไฟฟ้ากระแสสลับได้จากรูปสมการทั่วไป

               I = ImaxSinwt = ImaxSin2pft

       พอแทนค่าจากการทดลองผ่าน Application สามารถเขียนสมการได้

               I = 45x10 - 3 Sin 2p (10) t

               I = 0.045 Sin 20pt

       เราอาจจะทดลองเปลี่ยนค่าความต้านทานจาก 100 โอห์ม เป็น 200 โอห์ม จะเห็นกระแสไฟฟ้าสูงสุด (Imax) จะเปลี่ยนไปและกราฟก็จะเปลี่ยนไปด้วย หรือ ถ้าเปลี่ยนค่าความถี่กราฟก็เปลี่ยนไป

        การทดลองผ่าน AR ทำให้เราลดการใช้อุปกรณ์การทดลองซึ่งเมื่อต่อวงจรเสร็จจะต้องใช้ออสซิลโลสโคปตรวจสอบค่าความถี่และคาบของกระแสไฟฟ้าอีกที และอุปกรณ์การทดลองก็มีราคาแพงในห้องเรียนระดับมัธยมนั้นบางโรงเรียนไม่มีด้วยซ้ำ การใช้ Application ทำให้การทดลองที่ดูยากกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ไปเลย

แหล่งที่มา

ณัฐวิญญ์ สิรเดชธราทิพย์. สนามไฟฟ้าจากฉลามหัวค้อน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562. จาก  https://www.scimath.org/lesson-physics/item/7435-2017-08-11-04-18-55.

ไฟฟ้าสถิต : เส้นแรงไฟฟ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562. จาก  http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=2274&Itemid=3&limit=1&limitstart=6

ณัฐญา นาคะสันต์ และ ศุภรางค์ เรืองวานิช . Augmented Reality : เติมชีวิตให้สื่อสิ่งพิมพ์ทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562. จาก  http://www.educ.chandra.ac.th/stu/images/pdf/902.pdf

ไฟฟ้ากระแสสลับความถี่และคาบเวลา การศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562. จาก   http://blog.hongseng.co.th/2014/09/blog-post_71.html.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เทคโนโลยี AR, Augmented Reality, การใช้ AR ในการเรียนการสอน,สมการไฟฟ้ากระแสสลับ,ไฟฟ้ากระแสสลับ
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 17 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐวิญญ์ สิรเดชธราทิพย์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11234 เรียนไฟฟ้าด้วย AR ตอน 2 /article-physics/item/11234-ar-2
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เผยไต๋โฆษณายาบำรุงโลหิต
เผยไต๋โฆษณายาบำรุงโลหิต
Hits ฮิต (27025)
ให้คะแนน
หลายท่านอาจเคยชมโฆษณาขายยาบำรุงร่างกาย ยาบำรุงโลหิตจากรายการโทรทัศน์บางช่อง โดยเฉพาะจากสถานีโทรทัศน ...
แมลงดื้อ
แมลงดื้อ
Hits ฮิต (20020)
ให้คะแนน
ไม่ใช่เพียงมนุษย์เท่านั้นที่มีลักษณะของการดื้อยา แมลงก็เช่นกันที่มีวิวัฒนาการในการสร้างความต้านทานต ...
การแพ้อาหารในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้
การแพ้อาหารในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้
Hits ฮิต (13903)
ให้คะแนน
ขึ้นชื่อว่า เด็ก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องล้วนแต่จำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)