logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • อนุภาคมูลฐานที่ประกอบขึ้นเป็นเรา

อนุภาคมูลฐานที่ประกอบขึ้นเป็นเรา

โดย :
ปทิต จตุพจน์
เมื่อ :
วันพุธ, 20 พฤษภาคม 2563
Hits
10747

          ถ้ามีคนคนหนึ่งเปิดประเด็นคำถามขึ้นมาว่ามนุษย์เกิดมาได้อย่างไรนั้น บทสนทนานั้นอาจจะจบลงสั้นๆ หรืออาจจะพากันกลายเป็นบทสนทนาเรื่องเพศไปได้ง่ายๆ แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามไปเป็น “จักรวาลนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไรแล้ว” ก็จะกลายเป็นบทสนทนาที่ถูกตัดจบไปอย่างรวดเร็วกว่าเดิม หรือไม่ก็ยืดเยื้อมาก ๆ จนออกแนวปรัชญาไปเลยก็ได้

        สิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์ สัตว์ หรือพืชนั้นต่างประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบเล็กๆ ที่เรียกว่าเซลล์จำนวนนับไม่ถ้วน ส่วนสิ่งของนั้นประกอบขึ้นจากสิ่งเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่เรียกว่าอะตอม แต่ว่าเซลล์เองก็ประกอบขึ้นมาจากอะตอมเช่นกัน ทีนี้เราก็เห็นพ้องต้องกันแล้วว่าทุกอย่างล้วนประกอบขึ้นมาจากอะตอม อะตอมหลายๆ อะตอมมารวมกันก็กลายเป็นสารประกอบต่างๆ เกิดเป็นโครงสร้างง่ายๆ แล้วค่อยๆ ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นและจับต้องได้ แต่ว่าอะตอมใช่สิ่งที่เล็กที่สุดจริงหรือ? ก็ไม่ใช่อีก เพราะอะตอมก็ประกอบขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า “อิเล็กตรอน”, “โปรตอน”, และ “นิวตรอน” (Electron, Proton, and Neutron) ทีนี้เราได้ของที่เล็กที่สุดหรือยังนะ? คำตอบคือเราได้สิ่งที่เล็กที่สุดที่ไม่ได้มาจากการรวมตัวกันแล้ว 1 ตัว นั่นคือ “อิเล็กตรอน”นั่นเอง ส่วน “โปรตอน”, และ “นิวตรอน” นั้นยังเกิดจากการรวมตัวของสิ่งเล็กๆ ขึ้นมากอีกทีหนึ่ง สิ่งเล็กสุดท้ายที่เราจะพูดถึงในที่นี้คือ “ควาร์ก” (Quarks) นั่นเอง

          ฟิสิกส์อนุภาค (Particle Physics) คือชื่อของวิชาที่มีนักวิจัยหลากหลายสาขาให้ความสนใจและร่วมแรงร่วมใจกันศึกษาศาสตร์ของสิ่งเหล่านี้อยู่ ทั้ง “อิเล็กตรอน” และ “ควาร์ก” นั้นถือเป็นอนุภาคมูลฐาน (Elementary Particle หรือFundamental Particle) หมายถึงอนุภาคที่ไม่สามารถถูกแบ่งย่อยลงไปได้อีก ความหมายอีกนัยหนึ่งก็คือ อนุภาคพวกนี้คือสิ่งที่เล็กที่สุด (ในปัจจุบัน) เพราะมันไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาคอื่นอีกแล้ว

11233

รูปที่ 1 แบบจำลองมาตรฐาน หรือตารางอนุภาคมูลฐานที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน

https:// wikipedia.org/, MissMJ

          จากภาพที่หนึ่ง เราจะเริ่มสังเกตได้ว่าการแบ่งหมวดหมู่ของอนุภาคมูลฐานนี้ดูไม่ยุ่งอยากมาก แต่ก็ยังคงชวนงงอยู่นิดหน่อย นั่นเป็นเพราะว่าเราสามารถแบ่งอนุภาคมูลฐานพวกนี้ออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้ตามหน้าที่และลักษณะเฉพาะตัวบางอย่างของพวกมัน โดยสามารถจำแนกออกได้ดังนี้

เฟอร์มิออนและโบซอน (Fermion and Boson)

          อนุภาคกลุ่มนี้โดยแบ่งออกตามการประพฤติตัว (การกระจายตัวของอนุภาค) ที่ต่างกันและมีสปิน (เลขควอนตัมแสดงการหมุนรอบตัวเอง) ที่ต่างกัน โดนเฟอร์มิออนจะประพฤติตัวตามหลัก Fermi–Dirac statistics และมีสปินครึ่ง ส่วนโบซอนประพฤติตัวตามหลัก Bose–Einstein Statistics และมีสปินเต็ม สำหรับโบซอนนั้นจะเป็นอนุภาคสื่อแรงและอนุภาคสนาม

          เฟอร์มิออนสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 กลุ่มเล็กๆ ได้แก่ ควาร์ก (Quarks) และ เลปตอน (Leptons) ควาร์กเป็นอนุภาคที่มีสี ไม่สามารถอยู่เดี่ยวๆ ได้ และทำอันตรกิริยากันด้วยแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม ส่วนเลปตอนเป็นอนุภาคที่ไม่มีสีและทำอันตรกริยากันด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า และแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน (สีเป็นเลขควอนตัมชนิดหนึ่งเช่นกัน)

          ควาร์ก ประกอบไปด้วย อนุภาค 3 คู่ ได้แก่ up กับ down, charm กับ strange, และ top กับ bottom ควาร์กทั้ง 3 คู่นี้มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่อย่างเห็นได้ชัดเช่นเรื่องของมวล เรียงตามลับดับจากน้อยไปมากได้แก่ คู่ของ up กับ down, charm กับ strange, และ top กับ bottom ในธรรมชาตินั้นจะพบควาร์กที่มีมวลน้อย (คู่ของ up กับ down) เท่านั้น ส่วนควาร์กที่มวลมากนั้นจะพบได้ตามการชนที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีคอสมิก (Cosmic Ray) หรือการทดลองที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนศึกษาปรากฏการณ์เหล่านี้ และอนุภาคมวลมากที่เกิดขึ้นก็มักจะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว แต่ถึงอย่างนั้นก็มีการคาดการณ์ว่า ควาร์กมวลมากเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วินาทีภายหลังการเกิด Big Bang (ทฤษฎีการเกิดจักรวาลที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน) เมื่อควาร์กมากกว่า 2 ตัวมารวมตัวกัน จะก่อนให้เกิดเป็น “แฮดรอน” ซึ่ง โปรตอน และ นิวตรอน ก็ถือเป็นแฮดรอนนั่นเอง

          เลปตอน แบ่งออกเป็น เลปตอนที่มีประจุไฟฟ้า หรือ เลปตรอนที่เหมือนอิเล็กตรอน ได้แก่ อิเล็กตรอน มิวออน และ เทา ส่วนเลปตอนที่เป็นกลางก็มีอนุภาคที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ อิเล็กตรอนนิวทริโน มิวออนนิวทริโน และ เทานิวทริโน ซึ่งแทบจะไม่ทำอันตรกริยากับอะไรเลย จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะตรวจพบและเลปตอนที่เป็นกลางเหล่านี้

แหล่งที่มา

CERN. (2019). The Standard Model. Retrieved December 20, 2019, From https://home.cern/science/physics/standard-model

Esther Inglis-Arkell. (2012, 30 April). What are quarks, and why do they have colors and flavors?. Retrieved December 20, 2019, From https://io9.gizmodo.com/what-are-quarks-and-why-do-they-have-colors-and-flavor-5905629

ควาร์ก-กลูออน พลาสมา (Quark-gluon Plasma) และทฤษฎีสตริง (String Theory).สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562. จาก http://www.neutron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=450&Itemid=0

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อนุภาคมูลฐาน, ควาร์ก, เลปตอน
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 20 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายปทิต จตุพจน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11233 อนุภาคมูลฐานที่ประกอบขึ้นเป็นเรา /article-physics/item/11233-2019-12-19-06-21-14
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Carbon nanotubes วัสดุแห่งอนาคต
Carbon nanotubes วัสดุแห่งอนาคต
Hits ฮิต (31969)
ให้คะแนน
คาร์บอน (C) ธาตุแห่งชีวิต คาร์บอน (carbon) เป็นธาตุในหมู่สี่ ตามตารางธาตุ มาจากคำว่า “charbone” เป็ ...
เคมีของอินดิเคเตอร์
เคมีของอินดิเคเตอร์
Hits ฮิต (10529)
ให้คะแนน
อินดิเคเตอร์ (Indicator) คือ สารที่ใช้บอกความเป็นกรด-เบส ของสารละลายได้อย่างหนึ่ง สารประกอบที่เปลี่ ...
เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกันหรือไม่?
เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกัน...
Hits ฮิต (2784)
ให้คะแนน
ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 ถึงต้นปี ค.ศ. 2020 ทุกท่านคงทราบดีแล้วว่า ทั่วโลกเผชิญกับภาวะวิกฤติใด? ใช่แล ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)