logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • คณิตศาสตร์
  • คณิตศาสตร์ใกล้ตัว : ลำดับเรขาคณิต กับ ดอกเบี้ยธนาคาร ( ตอนจบ )

คณิตศาสตร์ใกล้ตัว : ลำดับเรขาคณิต กับ ดอกเบี้ยธนาคาร ( ตอนจบ )

โดย :
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
เมื่อ :
วันอาทิตย์, 14 พฤษภาคม 2560
Hits
43850

คณิตศาสตร์ใกล้ตัว : ลำดับเรขาคณิต กับ ดอกเบี้ยธนาคาร ( ตอนจบ )

     ต่อจากบทความ “คณิตศาสตร์ใกล้ตัว : ลำดับเรขาคณิต กับ ดอกเบี้ยธนาคาร ( ตอนแรก )” เราได้ทราบถึงหลักการคำนวณลำดับอนุกรมของลำดับเรขาคณิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้เราจะมาดูกันว่า กู้เงิน 1 ล้านบ้าน อัตราดอกเบี้ย 6.5% ต่อปี  จะกลายเป็น ดอกเบี้ย 7แสนบาท ได้อย่างไร

sequenc 2.1

ดอกเบี้ยทบต้น

 ธนาคารจะใช้หลักการคิดแบบดอกเบี้ยทบต้น นั้นหมายถึง ดอกเบี้ยที่คิดจะมีผลบนเงินจำนวนล่าสุด ( ที่อาจเคยมีการบวกดอกเบี้ยเข้าไปเพิ่มแล้ว ) เช่น

สมมุติฝากเงินธนาคาร 100 บาท ธนาคารให้ดอกเบี้ย 1 % ต่อปี

     ปีที่ 1 จะมีเงิน 100 บาท (เงินเดิม)  +  1 บาท (ดอกเบี้ย 1 % ของ 100)  = 101 บาท = 100(1.01)

     ปีที่ 2 จะมีเงิน 101 บาท (เงินเดิมจากปีแรก)  +  1.01 บาท (ดอกเบี้ย 1 % ของ 100 )  = 102.01 บาท  = 100(1.01)2

     ดังนั้นหากฝากไป n ปี ก็จะมีเงินเป็น   100(1.01)n  นั้นเอง

 

Present Value (มูลค่าในปัจจุบัน)

การคิด PV หรือ Present Value จะเป็นการมองกลับกันจากตัวอย่างข้างต้น 

จากที่ปรกติเราจะมองว่า

“ถ้าตอนนี้มีเงิน A บาท ฝากธนาคารดอกเบี้ย i เป็นเวลา n ปี จะมีเงิน ณ ปีที่ n เป็นเงินเท่าไหร่?”

แต่ในการคิดค่า PV เราจะมองว่า

“เพื่อให้อนาคต เกินเงินขึ้น A บาท ฝากธนาคารดอกเบี้ย i เป็นเวลา n ปี ณ ตอนนี้ต้องมีเงินเท่าไหร่?”

 

ตัวอย่าง

สมมติ ธนาคารให้เงินดอกเบี้ยที่ 1 % ต่อปี เราฝากเงิน 100 บาท ผ่านไป 2 ปีจะมีเงิน 100(1.01)2

ดังนั้น PV ของ 100(1.01)2 ก็คือ 100 บาทนั้นเอง  โดยสามารถหาได้จากการคูณส่วนกลับของดอกเบี้ยทบต้น  100(1.01)2 x (1.01)-2  = 100  นั้นเอง

 

Compound  interest

เราสามารถแปลงอัตราดอกเบี้ย โดยไม่จำเป็นต้องคิดเป็นต่อ 1 ปี แต่สามารถคิดไปตามจำนวนครั้งที่เกิดการ จ่ายเงินได้ เช่น  จากตัวอย่างที่ผ่านมา เราพบว่า หากธนาคารให้ดอกเบี้ย 1 % ฝากเงิน 100 บาท จะได้ ดอกเบี้ย 1 บาท ( 1 % ของเงินต้น ) แต่ผ่านไป 2 ปี ได้เงิน 2.01 บาท ( 2.01 % ) ของเงินต้น

เพื่อความง่ายขึ้นเราจะเปลี่ยนให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในรูปของตัวเลข แทนที่จะเป็น %

ดังนั้น ดอกเบี้ย 1 % ต่อปี = 0.01

พิจารณา (1 + 0.01)2 = (1 + 0.0201)

เราจะพบความสัมพันธ์ง่ายๆ โดยถ้าสมมติ i คือดอกเบี้ยในหน่วย ต่อ ปี

หากฝากเป็นระยะเวลา n ปี จะได้ว่า (1 + i)n = (1+j)  ได้ j = (1 + i)n – 1 : j คือดอกเบี้ยต่อปี n ปี นั้นเอง

 

“กู้เงิน 1 ล้าน เป็นเวลา 20 ปี ดอกเบี้ย 6.5% ต่อปี โดยผ่อนเงินทุกเดือน  จะต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่ และ รวมแล้วทั้งสิ้นต้องจ่ายเงินคืนธนาคารเท่าไหร่” 

จากข้อความข้างต้น เรามีหนี้ ณ วันนี้ มูลค่า 1 ล้านบ้าน ดังนั้น PV ( Present Value ) = 1 ล้านบาท 

จำนวนครั้งที่เราต้องจ่ายคืน คือ 20 ปี x 12 เดือน 240 ครั้ง 

เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ให้มา เป็นหน่วย ต่อปี แต่ในความเป็นจริงนั้น เราจะต้องผ่อนธนาคารทุกเดือน ดังนั้นเราจะ  เปลี่ยนให้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่เกิดต่อเดือน โดยใช้วิธีเดียวกับหัวข้อ Compound  interest

ให้ i แทนดอกเบี้ยต่อ ปี , j แทนดอกเบี้ยต่อเดือน จะได้ว่า (1+j)12 = 1+i 

I = 6.5% = 0.065 แทนลงในสมการข้างต้น จะได้ว่า j = 0.0053 (0.53% ต่อเดือน) นั้นเอง

สมมติว่า ในแต่ละงวด เราจ่ายเงินคือจำนวน A บาท

โดยหลักการในหัวข้อ Present Value

ได้ว่า PV = A(1+j)-1 + A(1+j)-2+ A(1+j)-3 + … + A(1+j)-240

พิจารณา (1+j)-1  = 0.9948 สมมติ  v = 0.9948 แทนกลับลงในสมการ Pricing

PV = Av + Av2 + Av3 +… + Av240  จะเห็นว่าสมการที่เกิดขึ้น เป็นสมการของอนุกรมลำดับเรขาคณิต นั้นเอง !!!!

เรา สามารถแก้สมการหาค่า A ได้โดย PV = {Av ( 1 – v240) }/(1-v)

แทนค่า PV = 1 ล้านบาท , v = 0.9948 ได้ A = 7,284.4 บาท

 

สรุป

“กู้เงิน 1 ล้าน เป็นเวลา 20 ปี ดอกเบี้ย 6.5% ต่อปี โดยผ่อนเงินทุกเดือน  จะต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่ ? “

  ตอบ 7,284.4 บาท / เดือน : นี่คือตัวเลขจริงในโลกแห่งความเป็นจริง ที่คุณจะต้องผ่อนเมื่อมีการกู้เงินจากธนาคาร

“รวมแล้วทั้งสิ้นต้องจ่ายเงินคืนธนาคารเท่าไหร่?”  

  ตอบ 7,284.4 บาท X 240 ครั้ง  =  1,748,256 บาท !!!!!

                                                                                                           คิดเป็นดอกเบี้ยถึง 7 แสนบาท !!!

 

 

แน่นอนว่ามูลค่าของดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริง หากดูจากการแก้สมการแล้ว มันยังขึ้นอยู่กับว่า คุณจะผ่อนคืนในเวลาเท่าใด ก็ สามารถเปลี่ยนผลลัพธ์ได้เช่นกัน   เผื่อลดปริมาณดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นลง เราจะต้องผ่อนให้สั้นที่สุด แต่แน่นอนว่าการผ่อนใน ระยะเวลาสั้นๆ จำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อครั้ง ก็จะมากขึ้นตามด้วย

นอกจากนี้ยังอาจมีตัวแปรอื่นๆ ขึ้นกับเงื่อนไขที่ผู้กู้ได้ทำกับธนาคาร

แต่อย่างไรก็ดี คราวนี้คงเห็นแล้วว่า ในความเป็นจริงแล้ว คณิตศาสตร์อยู่ใกล้ตัวเรามากๆ และแน่นอนว่า ผู้มีความรู้ย่อมสามารถทำการตัดสินใจได้รอบคอบกว่าแน่นอน

 

 

 

เนื้อหาโดย : ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ

ภาพจาก

http://bigthink.com/60-second-reads/just-add-money-see-what-happens

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
คณิตศาสตร์,เรขาคณิต,ดอกเบี้ย,ธนาคาร
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 มีนาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 6895 คณิตศาสตร์ใกล้ตัว : ลำดับเรขาคณิต กับ ดอกเบี้ยธนาคาร ( ตอนจบ ) /article-mathematics/item/6895-2017-05-14-05-14-54
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป
ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป
Hits ฮิต (27662)
ให้คะแนน
เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้กล้องถ่ายรูปกันอย่างแน่นอน ซึ่งคงเป็นเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่กล้องชนิดฟิล์มใ ...
เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!?
เทอร์โมไดนามิค คืออะไร!?
Hits ฮิต (13753)
ให้คะแนน
เทอร์โมไดนามิค (Thermodynamics) เป็นแขนงหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์ ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะได้ศึกษาตั้งแ ...
ป่าในเมืองช่วยคลายความร้อนได้อย่างไร
ป่าในเมืองช่วยคลายความร้อนได้อย่างไร
Hits ฮิต (10016)
ให้คะแนน
อุณหภูมิของประเทศไทยเราช่วงนี้มีอากาศร้อนขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มน่าจะร้อนเพิ่มขึ้นทุกปีๆ โดยเฉพาะก ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)