logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • คณิตศาสตร์
  • รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 15 มูฮัมหมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์

รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 15 มูฮัมหมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์

โดย :
เมขลิน อมรรัตน์
เมื่อ :
วันพุธ, 08 เมษายน 2563
Hits
7842

          มาถึงตอนที่ 15 กันแล้ว กับบทความซีรี่ส์ชุดรู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก คราวนี้ขอนำเสนอให้ผู้อ่านได้รู้จักกับบุคคลที่ถูกขนานนามว่าเป็น นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาหรับ จะเป็นใครนั้นตามไปอ่านกันได้เลย

         มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ (Muhammad ibn Musa al-Khwarizmi) ผู้นี้ได้รับความยกย่องทั้งในตะวันออกและตะวันตกว่าเป็นผู้วางรากฐานด้านคณิตศาสตร์สมัยใหม่ สร้างความก้าวหน้าในยุคที่รัฐอิสลามนั้นรุ่งเรือง การศึกษาศาสตร์ของทั้งกรีกและอินเดียทำให้การแปลหนังสือของบุคคลนี้เผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรป และถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดยุคก้าวหน้าของปัญญาแห่งการศึกษา

11215
รูปปั้นของ มูฮัมหมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ ที่เมือง Khiva  ประเทศอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)
ที่มา https://pixabay.com/ , Đăng nhập

          มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ หรือ อัลคอวาริซมีย์ เป็นชาวเอเชีย เกิดในคอวาริซมฺ เขตการปกครองคุรอซานในเปอร์เซีย อัลคอวาริซมีย์เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในช่วงปีคริสต์ศักราช 780-850 เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ นักเขียนและยังเป็นผู้มีชื่อเสียงในเกี่ยวกับการเป็นนักแปลอีกด้วย

        ผลงานด้านเกี่ยวกับวิธีการคำนวณคณิตศาสตร์ของเขา เป็นการสังเคราะห์ความรู้และความสามารถของชาวฮินดูและชาวกรีก อีกทั้งความรู้ที่สำคัญในด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเขายังสร้างผลงานที่โดดเด่น นั่นก็คือการสร้างระบบทศนิยม (Decimal System) ซึ่งเขาได้พบว่าตัวเลขของอาหรับนั้นดีกว่าตัวเลขในแบบละตินและอินเดีย อัลคอวาริซมีย์ได้รับการยกย่องจากนักคณิตศาสตร์จากทั่วโลกในการนำตัวเลขอารบิกไปใช้ และยังมีการใช้เครื่องหมายลบ (-) และตัวเลขศูนย์ (0) ในการคำนวณอีกด้วย

บิดาแห่งพีชคณิต

        อัลคอวาริซมีย์ มีผลงานมากมายหลายชิ้น เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพีชคณิต ด้วยผลงานที่ชื่อว่า Al-Kitab al-mukhtasar fi hisab al-jabr wa’l-muqabala หรือเรียกอีกอย่างว่า หลักพื้นฐานว่าด้วยการคืนค่าละการทดแทน (ปัจจุบันเรียกว่า สมการ) โดยคำว่า Al-jabr นั้นได้ดัดแปลงมาจากคำว่า Algebra หรือพีชคณิตในภาษาอังกฤษนั่นเอง และอีกผลงานหนึ่งที่สำคัญของอัลคอวาริซมีย์ คือ ตำราอธิบายวิธีการเขียนตัวเลขและการคำนวณตัวเลขด้วยเลขฐานหลักสิบ ตำราเล่มนี้ถูกนำไปแปลเป็นภาษาละตินในเวลาอีกสามร้อยปีต่อมา จนเป็นที่มาของระบบตัวเลขและการคำนวณแบบ ฮินดู-อารบิก ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ตำราที่อัลคอวาริซมีย์

                วิชาพีชคณิต หรือ Algebra ชาวตะวันตกดัดแปลงมาจากคำว่า “อัลญับรุ” คือตำราที่อัลคอวาริซมีย์ได้แต่งขึ้นเป็นตำราเล่มแรก โดยตำรานี้มีชื่อเต็มว่า “อัลญับรุ วัล มุกอบะละฮ์” ตำราเล่มนี้มีคุณค่าสำคัญทางประวัติศาสตร์และมรดกวิชาการ เหล่าบรรดาชาวอาหรับได้นำตำราเล่มนี้ไปเป็นมาตรฐานของการศึกษาวิชาพีชคณิต ในปี ค.ศ. 1145 โรเบิร์ต อัซซัสตูรีย์ ได้นำตำราเล่มนี้ไปแปลเป็นภาษาละตินและนำมาใช้เป็นตำราในการศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของทวีปยุโรป จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 16 (ยุคเฟื่องฟูของชาวตะวันตก)

                นอกจากนี้งานเขียนตำราของอัลคอวาริซมีย์ส่วนใหญ่ขาได้เขียนเกี่ยวกับตำราด้านวิชาคณิตศาสตร์ ตำราภูมิศาสตร์และแผนที่ ตำราด้านดาราศาสตร์ รวมไปถึงปฏิทินและเวลา นาฬิกาและแอสโตรแลบ แต่ตำราดังกล่าวนั้นเขาเขียนในภาษาอาหรับแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

                ผลงานของอัลคอวาริซมีย์ไม่ได้มีเพียงผลงานทางด้านคณิตศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ในส่วนของด้านดาราศาสตร์นั้นเขายังได้ทำการสร้างตารางดาราศาสตร์และการคำนวณรัศมีและเส้นรอบวงของโลกขึ้น โดยมีความถูกต้องและแม่นยำในระดับที่เรียกว่าใกล้เคียงกับการคำนวณในแบบของยุคใหม่เลยทีเดียว ตารางดาราศาสตร์นี้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในทวีปยุโรปจนไปถึงประเทศต่าง ๆ ในอีกหลายทวีป 

                จากข้อมูลที่ได้นำเสนอไปนั้น รู้หรือไม่ว่า ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะคิดว่าความก้าวหน้าทางวิทยาการในศาสตร์ด้านต่าง ๆ มักจะมาจากการคิดค้นขึ้นในฝั่งตะวันตก ทำให้เรารู้จักแต่นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปเป็นส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือดาราศาสตร์นั้น ก็เกิดขึ้นได้จากนักวิทยาศาสตร์หรือนักคณิตศาสตร์จากทั่วทุกมุมโลก จากตัวอย่างของอัลคอวาริซมีย์นักคณิตศาสตร์แห่งอาหรับนั่นเอง

แหล่งที่มา

อัลคอวาริซมีย์ นักคณิตมุสลิม ผู้เป็นที่มาของ “อัลกอริทึม”. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562. จาก

https://thepeople.co/al-khwarizmi-muslim-mathematician-algorithm-algebra/

นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาหรับ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562. จากhttps://www.jw.org/th/หนังสือและสื่อต่างๆ/วารสาร/g201505/อัลคอวาริซมีบิดาพีชคณิต/

อาจวรงค์ จันทมาศ. ใครเป็นคนคิดการย้ายข้างสมการเป็นคนแรก. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562. จาก https://www.blockdit.com/posts/5c247748665b770cf852b389

               

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประวัติของอัลคอวาริซมีย์, ผลงานที่โดดเด่นของอัลคอวาริซมีย์,นักคณิตศาสตร์
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 20 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
เมขลิน อมรรัตน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11215 รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 15 มูฮัมหมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ /article-mathematics/item/11215-15
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
แอปพลิเคชันช่วยให้การเกษตรเป็นเรื่องง่ายได้อย่างไร
แอปพลิเคชันช่วยให้การเกษตรเป็นเรื่องง่าย...
Hits ฮิต (5711)
ให้คะแนน
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับเรามากขึ้น ช่วยให้เราสะดวกสบายมากขึ้นประหยัดเวลาและลดขั้น ...
Be My Eyes ฝันที่เป็นจริงของผู้พิการทางสายตา
Be My Eyes ฝันที่เป็นจริงของผู้พิการทางส...
Hits ฮิต (11436)
ให้คะแนน
สำหรับผู้พิการทางสายตาแล้วนั้น สิ่งที่ยากและน่าเห็นใจที่สุดก็คืออุปสรรคมากมายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตใ ...
เว็บช่วยสอน4
เว็บช่วยสอน4
Hits ฮิต (18695)
ให้คะแนน
...เว็บช่วยสอน... ชัยวุฒิ เลิศวนสิธิวรรณ Access Excellence http://www.accessexcellence.org/ เป็นเว็ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)