logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกันหรือไม่?

เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกันหรือไม่?

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 01 ตุลาคม 2563
Hits
2784

          ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 ถึงต้นปี ค.ศ. 2020 ทุกท่านคงทราบดีแล้วว่า ทั่วโลกเผชิญกับภาวะวิกฤติใด? ใช่แล้ว พวกเราทุกคนกำลังเผชิญกับวิกฤติ COVID-19 หรือการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนานั่นเอง  มีรายงานวิจัยพบว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้จะถูกยับยั้งการทำงานและถูกฆ่าได้ด้วยสารละลายที่มีความเข้มข้นระดับหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือแอลกอฮอล์นั่นเอง จากงานวิจัยหลาย ๆ แหล่งพบว่า แอลกอฮอล์ความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 70% สามารถฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ ซึ่งทำให้ขณะนั้นตามท้องตลาดมีการจำหน่ายแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งรวมถึงเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อมีผู้บริโภคไปซื้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลจากร้านขายยา ผู้ขายมักจะหยิบแอลกอฮอล์มาให้เลือกทั้ง 2 ชนิด ราคาเอทิลแอลกอฮอล์จะสูงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์เล็กน้อย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่และโดยเฉพาะผู้ที่ไม่รู้คุณสมบัติที่แท้จริงของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มักจะเลือกชนิดที่ราคาถูกกว่า เพราะประหยัดเงิน และเข้าใจว่ามีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วคุณสมบัติของเอทิลแอลกอฮอล์ต่างกันมาก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแอลกอฮอล์แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน อย่างไรนั้น ตามไปดูกันเลย

11471 1

ภาพที่ 1 เจลและสเปรย์แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ

         ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (Alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH

          เมทานอล (Methanol) หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol) มีสูตรโครงสร้างแบบย่อ CH3OH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นพิษ นิยมใช้เป็นตัวทำละลาย และใช้เป็นเชื้อเพลิง ในธรรมชาติ เมทานอลเป็นผลิตภัณฑ์จากการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรียหลายชนิด  ซึ่งเมทานอลจะระเหยออกสู่อากาศภายนอก แล้วสลายตัวได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ

11471 2

ภาพที่ 2 โครงสร้างทางเคมีของเมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/เมทานอล

          โดยทั่วไปนั้นเมทิลแอลกอฮอล์เป็นแอลกอฮอล์ชนิดมีพิษ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์สำหรับผสมแลคเกอร์แต่ห้ามใช้กับร่างกาย จากคุณสมบัติของเมทิลแอลกอฮอล์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ควรนำเอาแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดมาใช้แทนกันเพราะจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายได้ เนื่องจากเมทิลแอลกอฮอล์หากนำมาใช้ล้างแผล แอลกอฮอล์จะซึมเข้าไปมากๆ อาจทำให้ผู้ดื่มตาบอดหรือถึงตายได้

          เอทานอล (Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทน้ำตาล เช่นอ้อย บีทรูท และพืชจำพวกแป้งเช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น

11471 3

ภาพที่ 3 โครงสร้างทางเคมีของเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/เอทานอล

          โดยทั่วไปหากพูดถึงแอลกอฮอล์มักจะอ้างถึงเอทิลแอลกอฮอล์เกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (Alcoholism)

          เอทิลแอลกอฮอล์เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งจะมีสารที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเอทิลแอลกอฮอล์แต่มีจำนวนคาร์บอนอะตอมและสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกันอีกชนิดหนึ่งที่พอทดแทนกันได้นั่นก็คือ ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol)  หรือไอโซโพรพานอล  (Isopropanol) แอลกอฮอล์ทั้งสองชนิดนี้เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ แต่ที่นิยมใช้และปลอดภัยมากที่สุดก็คือเอทิลแอลกอฮอล์ เช่น ผสมในยารับประทาน ผสมในสุราหรือเครื่องดื่มประเภทของมึนเมาหรือใช้ทาภายนอกร่างกาย เช่น ล้างแผล ผ้าเย็น กระดาษเช็ดหน้า สเปรย์ เป็นต้น

11471 4

ภาพที่ 4 สเปรย์แอลกอฮอล์
ที่มา https://pixabay.com/ ; mohamed_hassan

          หันกลับมาดูเอทิลแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสกันอีกครั้งค่ะ ซึ่งตามที่เราได้ทราบกันดีว่ามีทั้งชนิดที่เป็นสเปรย์และเจลล้างมือโดยที่ไม่ต้องใช้น้ำล้างออกนั้น ทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไรนั้น ซึ่งหากเราพูดกันถึงความเข้มข้นในการฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาแล้วนั้นองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าควรจะใช้แอลกอฮอล์ที่เมื่อเจือจางแล้วเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 70%  นั่นก็หมายถึงว่าแอลกอฮอล์สเปรย์หรือเจลแอลกอฮอล์ที่นำมาใช้นั้น ถ้าสารตั้งต้นคือเอทิลแอลกอฮอล์เข้มข้น 95%  และเมื่อนำมาเจือจางในสัดส่วนปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ 75 ส่วนโดยปริมาตร ต่อน้ำบริสุทธิ์หรือสารอื่นๆอีกไม่เกิน 25 ส่วนโดยปริมาตร จะทำให้ได้ความเข้มข้นเอทิลแอลกอฮอล์เมื่อเจือจางแล้วอยู่ที่ 71.25%  นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งชนิดเสปรย์และเจลนั้นหากควบคุมความเข้มข้นตามกำหนดแล้ว ทั้งสองชนิดนี้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้เช่นเดียวกัน

11471 5

ภาพที่ 5 เจลแอลกอฮอล์
ที่มา https://pixabay.com/ ; Gadini

          หากจะพูดถึงความแตกต่างของหลักการทำงานหรือการคงอยู่ในสภาวะทั่วไปแล้วนั้น โดยทั่วไปสารที่มีสถานะเป็นของเหลวเช่นแอลกอฮอล์สเปรย์นั้นเมื่อเราฉีดลงบนฝ่ามือแล้วและทิ้งไว้เพียงไม่กี่วินาทีสารจะเกิดการระเหยไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งชนิดสเปรย์นี้จึงเหมาะที่จะใช้ฆ่าเชื้อไวรัสตามพื้นผิววัตถุสิ่งของที่เราจะใช้มือหยิบจับ โดยเราอาจจะฉีดพ่นลงบนผิวของสิ่งนั้น เพียงไม่กี่วินาทีสารก็จะระเหย เราจึงค่อยใช้มือในการหยิบจับได้อย่างปลอดภัย หรือค่อยเช็ดถูได้ก่อนทำการหยิบจับ  ในขณะที่แอลกอฮอล์ชนิดเจลมีสถานะเป็นของเหลวหนืดซึ่งการคงอยู่ในสภาวะทั่วไปจะอยู่ได้นานกว่าชนิดสเปรย์ อีกนัยหนึ่งหมายถึงความสะดวกสบายในการใช้ทำความสะอาดมือโดยไม่ต้องใช้น้ำล้างออก และสภาพความคงอยู่ในอากาศนานกว่าชนิดสเปรย์ซึ่งเราจะสังเกตได้จากเมื่อบีบแอลกอฮอล์เจลลงบนฝ่ามือแล้วถูให้ทั่วทั้งมือ ปล่อยทิ้งไว้สัก 2-3 นาที เจลนี้จึงจะแห้ง นั่นแสดงให้เห็นว่าแอลกอฮอล์เจลกว่าที่จะระเหยใช้เวลานานกว่าชนิดสเปรย์ รู้แบบนี้แล้วท่านผู้อ่านจะเลือกใช้แอลกอฮอล์ชนิดใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและความประสงค์ของตัวท่านเองว่านิยมหรือต้องการใช้ชนิดใดนั่นเองค่ะ แต่ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อนั้นไม่แตกต่างกันเลยค่ะ ขอเพียงแค่ความเข้มข้นแอลกอฮอล์อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดนั่นเอง

แหล่งที่มา

สมบูรณ์ เจตลีลา และวารี ลิมป์วิกรานต์. (2537). ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตอนที่ 3 ; สนุกกับการผลิตเจลสมุนไพร. ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563. จาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/195

Pounikar Y, Jain P, Khurana N, Omray LK, Patil S. Formulation and characterization of aloe vera cosmetic herbal hydrogel. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences 2012; 4, Suppl 4: 85-86.

Feuch CL, Patel DR. Analgesics and anti-inflamatory medications in sports: use and abuse. Pediatric Clinics of North America 2010; 57(3): 751-774.

Home care for patients with suspected novel coronavirus (COVID-19) infection presenting with mild symptoms, and management of their contacts. World Health Organization.  Retrieved April 1, 2020.From https://www.cdc.gov/infectioncontrol/guidelines/disinfection/disinfection-methods/chemical.html 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ไวรัสโคโรนา, COVID-19, แอลกอฮอล์, เอทิลแอลกอฮอล์,เจลแอลกอฮอล์,สเปรย์แอลกอฮอล์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 07 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11471 เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกันหรือไม่? /article-chemistry/item/11471-2020-04-21-07-13-10
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Carbon nanotubes วัสดุแห่งอนาคต
Carbon nanotubes วัสดุแห่งอนาคต
Hits ฮิต (31969)
ให้คะแนน
คาร์บอน (C) ธาตุแห่งชีวิต คาร์บอน (carbon) เป็นธาตุในหมู่สี่ ตามตารางธาตุ มาจากคำว่า “charbone” เป็ ...
เคมีของอินดิเคเตอร์
เคมีของอินดิเคเตอร์
Hits ฮิต (10529)
ให้คะแนน
อินดิเคเตอร์ (Indicator) คือ สารที่ใช้บอกความเป็นกรด-เบส ของสารละลายได้อย่างหนึ่ง สารประกอบที่เปลี่ ...
เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกันหรือไม่?
เจลแอลกอฮอล์กับสเปรย์แอลกอฮอล์แตกต่างกัน...
Hits ฮิต (2784)
ให้คะแนน
ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 ถึงต้นปี ค.ศ. 2020 ทุกท่านคงทราบดีแล้วว่า ทั่วโลกเผชิญกับภาวะวิกฤติใด? ใช่แล ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)